รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 ตุลาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์ อาจารย์จากสำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2567 ซึ่งจัดโดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายผสานการขับเคลื่อนด้วยล้อเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของมนุษย์”
ในโอกาสนี้ รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี ด้านวิจัย จุฬาฯ ได้มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับรศ.ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์ ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลดังกล่าว ในงานสัมมนาพิเศษ “Outstanding Technologist Awards & TechInno Forum 2024” ณ โรงแรมดิ แอทธินี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 โดยงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “AI for Deep Tech” ภายในงานยังมีการแสดงผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยี การเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจ เพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน
ผลงานวิจัยของ รศ.ดร.รณพีร์ชัย เชาวรัตน์ เป็นการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ช่วยพยุงร่างกายในการลุก นั่ง เดิน และก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง โดยเน้นการออกแบบให้เข้ากับสรีระของผู้ใช้งาน ส่งเสริมท่าทางการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มความสะดวกและมั่นคงในการใช้ชีวิตประจำวัน
โครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จัดขึ้นโดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ เป็นประจำทุกปี เพื่อคัดเลือกและเชิดชูนักเทคโนโลยีไทยที่มีผลงานโดดเด่นในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมและก่อให้เกิดประโยชน์ในระดับประเทศ
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 68 เวลา 14.00 -16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
เสวนา “eDNA กับความยั่งยืนของทรัพยากรทางน้ำของประเทศไทย” ภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาฯ
เชิญร่วมการสัมมนาเรื่อง “ฐานข้อมูลด้านแรงงาน: ที่มีอยู่ การนำไปใช้ และแนวทางต่อไป”
2 พ.ค. 68
Zoom Meeting
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้