สป.อว. ตรวจเยี่ยมผลการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรที่เข้าร่วมโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุม 201 อาคารจามจุรี 3 ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดีจุฬาฯ อ.นพ.วรพล จรูญวณิชกุล ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านมาตรฐานหลักสูตร นวัตกรรมหลักสูตร และบริหารวิชาการ และผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริหารวิชาการ พร้อมด้วยตัวแทนจากสำนักบริหารวิชาการ สำนักบริหารแผนและการงบประมาณ สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และการพัสดุ และผู้แทนหลักสูตร ให้การต้อนรับ รศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร ประธานอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช อนุกรรมการและคณะอนุกรรมการ รวมทั้งทีมงานสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ที่เข้าพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรที่เข้าร่วมโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




ในการนี้ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี เป็นผู้กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม อ.นพ.วรพล จรูญวณิชกุล รายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของมหาวิทยาลัยโดยผู้แทนหลักสูตรรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร จากนั้นเป็นการเข้าพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานของหลักสูตร ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากผู้แทนหลักสูตรทั้งประเภทปริญญา (Degree) จำนวน 8 หลักสูตร และประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) จำนวน 10 หลักสูตร
โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine และตามนโยบาย Thailand 4.0 เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในรูปแบบ New S-Curve ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี โดยอุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมอนาคตที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศ และสนองต่อการปฏิรูปการศึกษาไทยและการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งการเข้าพื้นที่ตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ คณาจารย์ ประธานหลักสูตร ผู้แทนหลักสูตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของส่วนงาน สำนักบริหารแผนและการงบประมาณ สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และการพัสดุ สำนักบริหารวิชาการ และบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร รวมทั้งทีมงานที่เกี่ยวข้องพร้อมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกันกับทาง สป.อว. โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังผลการดำเนินงานหลักสูตรที่เข้าร่วมโครงการฯ สัมภาษณ์ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร รับฟังข้อคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อหลักสูตร
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://academic.chula.ac.th/detail/activities/36

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย