รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือความร่วมมือระหว่างสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยด้วย “ภาคีความร่วมมือวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ไทย” (Thailand Science & Engineering Consortium) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุม 1106 ชั้น 11 อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับ พร้อมเสนอแนวทางความร่วมมือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การอุดมศึกษาของประเทศไทยที่สภาคณบดีฯ ทั้งสองซึ่งถือเป็นผู้นำด้านวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศได้มาพบปะและหารือความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมอย่างเป็นทางการ
การประชุมหารือความร่วมมือระหว่างสมาคมสภาคณบดีวิทยาศาสตร์ นำโดย ศ.ดร.สันติ แม้นศิริ นายกสมาคมสภาคณบดีวิทยาศาสตร์ และสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย นำโดย รศ.ดร.ธงชัย ฟองสมุทร ประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. ได้เข้าร่วมประชุมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่าย รวมถึงสถาบันวิจัยต่าง ๆ ของไทยได้ร่วมนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ในการประชุมครั้งนี้ด้วย อาทิ ความก้าวหน้าสำคัญด้านดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศของประเทศ (โครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย หรือ Thai Space Consortium) โดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ความก้าวหน้าโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน 3 พันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดย รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (AI Thailand) โดย ดร.ศวิต กาสุริยะ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นต้น
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 68 เวลา 14.00 -16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้