รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานเสวนา ฬ. จุฬาฯ นิติมิติ เรื่อง “หนึ่งความเสียหาย หลายฝ่ายเกี่ยวข้อง: สำรวจสัญญาก่อสร้างภาครัฐ” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ณ ห้อง ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ผศ.ดร.ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์ รองคณบดีด้านงานวิจัย วิทยทรัพยากร และบริการวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงานเสวนา วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมเสวนา ได้แก่ ศ.ดร.ทศพล ปิ่นแก้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ นายนรินทร์ เยี่ยมสมบัติ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ดำเนินรายการโดย อ.ศรัณย์ พิมพ์งาม ผู้ช่วยคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ งานเสวนา ฬ. จุฬาฯ นิติมิติในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจในเรื่องสัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างของรัฐ ประกอบด้วยสัญญาจ้างออกแบบ สัญญาจ้างควบคุมงาน และสัญญาจ้างก่อสร้าง รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้างภาครัฐเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการและผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคาร และประชาชนทั่วไป
ผศ.ดร.ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเพียงภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่เป็นบททดสอบที่เปิดเผยจุดอ่อนของระบบการก่อสร้างในภาครัฐ ทำให้เกิดคำถามทางกฎหมายตามมาว่าใครจะต้องรับผิด สิทธิหน้าที่ในแต่ละสัญญาทับซ้อนกันอย่างไร เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นจะสามารถโยงความรับผิดจากสัญญาหนึ่งไปอีกสัญญาหนึ่งได้หรือไม่ ความพิเศษของการเสวนาในครั้งนี้มีคือเป็นเวทีการเสวนาแรก ๆ ที่ผนวกมุมมองทางกฎหมายและทางวิศวกรรมเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ปัญหาที่ไม่แยกส่วน แต่เข้าใจถึงความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งระหว่างข้อเท็จจริงทางเทคนิคและหลักความรับผิดในสัญญา นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงความสำคัญของการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์เพื่อสร้างระบบการจัดการโครงการสาธารณะที่โปร่งใส ยุติธรรมและยึดโยงกับผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
รศ.ดร.อังคณาวดี ปิ่นแก้ว คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า การเสวนาครั้งนี้นำเสนอมิติมุมมองทางกฎหมายในสัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการของรัฐ เป็นการมองในภาพรวมว่าโครงการก่อสร้างของรัฐมีสัญญาอะไรที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจ้างออกแบบ สัญญาจ้างควบคุมงาน และสัญญาจ้างก่อสร้าง ซึ่งมีจุดร่วมกันคือผู้ว่าจ้างเป็นหน่วยงานของรัฐที่จะต้องเข้ามาบริหารสัญญาทั้งสามส่วน ส่วนผู้รับจ้างมาจากแต่ละส่วนงานที่ต้องปฏิบัติงานเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด เมื่องานที่จ้างก่อสร้างเกิดความเสียหายและพังทลายลงในขณะที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่จะต้องพิจารณาคือต้นเหตุของความเสียหายคืออะไร และจะได้รับการชดใช้เยียวยาอย่างไร ในงานเสวนามีการตั้งสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ความเสียหายของอาคารที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ความเสียหายที่เกิดจากการออกแบบหรือจากการทำงาน อย่างไรก็ตาม หากเป็นความเสียหายที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารไม่ถูกต้อง จะต้องพิจารณาที่สัญญาการจ้างก่อสร้างควบคู่กับสัญญาจ้างควบคุมงาน
รศ.ดร.อังคณาวดีกล่าวว่า เหตุการณ์อาคารก่อสร้างของรัฐพังทลายจากเหตุแผ่นดินไหวจึงเป็นกรณีศึกษาที่ดีมากในทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสัญญาก่อสร้างอาคารว่าจะต้องพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องใด และสัญญาในปัจจุบันมีข้อจำกัดเรื่องใด อีกส่วนหนึ่งคือมาตรการในการป้องกันก่อนที่จะเกิดความเสียหาย และมาตรการในการเยียวยาความเสียหายในภายหลังที่ทันท่วงที การกำหนดให้ผู้ออกแบบและผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารจะต้องทำประกันเพื่อชดใช้เยียวยาความเสียหาย รวมถึงการมีองค์กรอิสระหรือหน่วยงานรัฐและเอกชนเข้ามาช่วยตรวจสอบแบบการก่อสร้างของรัฐเป็นประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาในบางโครงการ
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เชิญร่วมงาน President’s Distinguished Speaker ครั้งที่ 4 “From Turbulence to Triumph: การบินไทย จากฟื้นฟูสู่พุ่งทะยาน”
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น.
Facebook Live
ผู้แทนจาก Ohio University สหรัฐอเมริกาหารือการขยายความร่วมมือกับจุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้