รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 พฤษภาคม 2568
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานแถลงข่าวความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อ “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge” เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้บริหารระดับสูงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และประกาศความพร้อมในการเดินหน้าสู่ยุคใหม่ของการพัฒนาความรู้และศักยภาพบุคลากรอย่างยั่งยืน
งานแถลงข่าวความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมปาฐกถาพิเศษ นอกจากนี้ยังมีนายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นางจันทริกา โชติกเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่สายทรัพยากรบุคคล บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ รศ. ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมในงานแถลงข่าวครั้งนี้ ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ถิรพุทธิ์ ปิติฉัตร ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการ “ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG” เป็นผลจากการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาชั้นนำกับองค์กรภาคธุรกิจการบินของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการที่ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านบุคลากร เทคโนโลยี และความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ความร่วมมือครั้งนี้ครอบคลุมโครงการสำคัญที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านวิชาการ สื่อสร้างสรรค์ และการพัฒนาทักษะอาชีพ หนึ่งในโครงการหลักคือการจัดทำเนื้อหา Edutainment เพื่อเผยแพร่บนเที่ยวบินของการบินไทย ซึ่งออกแบบให้ผู้โดยสารสามารถเรียนรู้ระหว่างการเดินทาง ด้วยเนื้อหาที่ถ่ายทอดโดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาฯ ในรูปแบบวีดิทัศน์และสื่อมัลติมีเดีย โดยเนื้อหาสำคัญชุดแรกจะเป็นกรณีศึกษาการบริหารและการฟื้นฟูกิจการของการบินไทย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างเชิงกลยุทธ์ที่สะท้อนกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ การจัดการภาวะวิกฤต และการเปลี่ยนผ่านองค์กรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในแวดวงธุรกิจและการศึกษา
อีกหนึ่งความโดดเด่นของความร่วมมือในครั้งนี้คือการจัดทำรายการ “Series of the President” ซึ่งเป็นรายการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของการบินไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดเผยแนวคิดภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนองค์กร และการจัดการในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบที่เข้าถึงง่าย เป็นประโยชน์แก่บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
ในด้านการพัฒนาหลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและการบินไทยได้ร่วมกันออกแบบหลักสูตรด้านการบริการ “School of Hospitality” ซึ่งจะดำเนินการโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผสมผสานกับองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาบริการ การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล เพื่อยกระดับทักษะของบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับนานาชาติ
นอกจากนี้ยังมีโครงการ “1 Staff 1 Certificate” ซึ่งเปิดโอกาสให้พนักงานการบินไทยทุกระดับสามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตรระยะสั้นจากจุฬาฯ ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น การบริหารจัดการ การตลาดดิจิทัล ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการ และทักษะการคิดเชิงออกแบบ โดยผู้ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองคุณวุฒิจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในสายอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จุฬาฯ ได้ต้อนรับผู้บริหารของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในโครงการความร่วมมือครั้งนี้ซึ่งมีหลากหลายมิติ ตั้งแต่การสร้าง TG Model เป็นต้นแบบของการศึกษาในการถอดรหัสบทเรียน เป็นพื้นฐานในการสร้างแนวคิดในการวิเคราะห์พัฒนากรณีศึกษา มิติที่สองเป็นการนำความรู้คู่ฟ้าสู่เครื่องบิน นอกจากนี้ยังมีการสร้าง School of Hospitality การพัฒนาคุณภาพการบริการร่วมกันระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและการบินไทย ทั้งนี้หลังจากการพัฒนาแผนฟื้นฟูของการบินไทยสัมฤทธิ์ผล ในระยะต่อไปจะเป็นการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นเรื่องของความรู้คู่ฟ้า ทำให้บนเครื่องบินไม่ได้มีแต่ความบันเทิงเท่านั้น แต่เป็นการนำความรู้จากจุฬาฯ เพื่อถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ทั้งทางภาษา วัฒนธรรมไทย และจะเกิดโครงการต่าง ๆ ขึ้นมากมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชื่อมั่นในพลังของความรู้ในการเปลี่ยนแปลงสังคม ความร่วมมือกับการบินไทยครั้งนี้จึงเป็นแบบอย่างของการใช้วิชาการเชื่อมโยงกับโลกจริงอย่างมีพลัง ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และประเทศชาติ”
ด้าน ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย มีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายคณะ การบินไทยจึงมั่นใจในจุฬาฯ เป็นอย่างยิ่ง Case Study ของการบินไทยจะเป็นประโยชน์สำหรับเป็นกรณีศึกษาสำหรับภาครัฐและผู้บริหารวิสาหกิจ เป็นตัวอย่างของการฟื้นตัวของรัฐวิสาหกิจไทยที่กลับมามีฐานะเข้มแข้งและมีแผนการขยายตัวต่อไปที่ชัดเจน การบินไทยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมด้านการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเสมอมา เราภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับจุฬาฯ ในการสร้างสรรค์โครงการที่มีคุณค่าและสร้างแรงบันดาลใจเช่นนี้ การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่เพียงแต่เป็นบทพิสูจน์ถึงศักยภาพในการบริหารจัดการภายใต้สถานการณ์วิกฤติ หากยังสะท้อนบทเรียนอันทรงคุณค่าที่ควรได้รับการศึกษาวิเคราะห์และถ่ายทอดแก่สังคมวงกว้าง เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการและพลิกฟื้นธุรกิจในอนาคต”
งานแถลงข่าวครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่มีเป้าหมายชัดเจนในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ และเป็นตัวอย่างของการบูรณาการระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจที่มุ่งสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อสังคมในระยะยาว ทั้งในมิติของคุณภาพบริการ มาตรฐานวิชาชีพ และการสร้างแรงจูงใจใหม่ให้กับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้