รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 พฤษภาคม 2568
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) จัดงาน “CEDT Innovation Summit 2025 (CIS 2025)” ภายใต้แนวคิดหลัก Empowering Nextgens Innovator มุ่งเน้นการสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเป็นนวัตกรที่ขับเคลื่อนประเทศไทยอนาคต เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2568 ณ ศาลาพระเกี้ยว โดยมี ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน ผศ.ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะวิศวกรรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ มีคณะทำงานส่งเสริมการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา คณาจารย์ ผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรม นิสิตจุฬาฯ และนักเรียนเข้าร่วมงานครั้งนี้
ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การแข่งขัน Hackathon ภายใต้งาน “CEDT Innovation Summit 2025 (CIS2025)” ไม่ใช่เพียงการแสดงผลงานของนิสิตหรือกิจกรรมเชิงวิชาการเท่านั้น แต่เป็นภาพสะท้อนของแนวทางการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้คิดเป็น ทำเป็น และเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ขอชื่นชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬฯ และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ร่วมผลักดันให้เกิดหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวง มหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง หลักสูตรนี้ไม่เพียงออกแบบให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ยังมีจุดเด่นที่น่าชื่นชม คือ การฝึกงานของนิสิตทุกชั้นปีกับบริษัทจริง การทำโครงงานจากโจทย์จริง และการเตรียมสู่การทำงานจริงในรูปแบบสหกิจศึกษา ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงเป้าหมายที่ต้องการสร้างบัณฑิตที่มีทั้งสมรรถนะทางวิชาชีพและการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงงานนี้ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของการสร้างพื้นที่ให้เยาวชนได้เติบโตด้วยศักยภาพของตนเอง ขอความขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่“กล้าทำสิ่งใหม่” อย่างจริงจัง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความสำเร็จในวันนี้จะต่อยอดไปสู่การพัฒนาหลักสูตรอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์ประเทศได้ในอนาคตและเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคนต่อไป
ผศ.ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะวิศวกรรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวขอบคุณกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่ให้การสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้และเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบใหม่ผ่านกลไก Sandbox ที่เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยออกแบบหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีและตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นที่มาของหลักสูตร CEDT จุฬาฯ โดยหลักสูตรนี้มีความร่วมมืออย่างเป็นระบบกับภาคอุตสาหกรรม มีพันธมิตรมากกว่า 100 บริษัท มีการเปิดรายวิชา การฝึกงานของนิสิตและการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะให้นิสิตอย่างต่อเนื่อง สำหรับงาน CEDT Innovation Summit 2025 หรือ CIS 2025 นิสิตในหลักสูตร CEDT เป็นผู้ริเริ่มและวางแผนดำเนินการจัดงาน โดยมีอาจารย์และภาคีเครือข่ายเป็นที่ปรึกษา
หลากหลายกิจกรรมในงาน CIS 2025 ประกอบด้วย การประกวดนวัตกรรมจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 – 6 ในงาน CIS 2025 Hackathon การเสนอผลงานนวัตกรรมของนิสิตหลักสูตร CEDT การออกบูธโดยบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม บูธประชาสัมพันธ์หลักสูตร CEDT
ผลการแข่งขัน CIS 2025 Hackathon โดยนักเรียนมัธยมศึกษา 15 ทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ
– รางวัลชนะเลิศ Education Track
ทีม CedtInMyHeart จากโรงเรียนระยองวิทยาคม พัฒนาแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่ทำให้การสร้างแฟลชการ์ดจากสื่อการเรียนรู้ได้กลายเป็นระบบอัตโนมัติ ด้วยการใช้ประโยชน์จาก NLP และ ML
– รางวัลชนะเลิศ Medical Track
ทีม REBEXs จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เพชรบุรี พัฒนาระบบตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นด้วยการสร้างภาพตัดขวางแสดงความต้านทานไฟฟ้าภายในวัตถุและวิเคราะห์ด้วยอัลกอริทึมโครงข่ายประสาทเทียม
– รางวัลชนะเลิศ Financial Track
ทีมเต่างอย จากโรงเรียนสาธิต มศว.ประสานมิตร พัฒนาระบบวิเคราะห์และจัดการคาร์บอนเครดิต ภาคเกษตรกรรมด้วยดาวเทียม และ Blockchain
นักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละ Track และผ่านประเมินจากคณะกรรมการ คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะได้รับสิทธิ์ในการยื่นแฟ้มสะสมผลงานเพื่อสมัครเข้าศึกษาในรอบ TCAS 1 ของหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT จุฬาฯ)
ติดตามรับชมบรรยากาศงาน CEDT Innovation Summit 2025 ย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/cedtengchula
“PEAK in the PARK” จูงน้องหมามาดูหนัง ฟังเพลงในสวน ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ
16 - 18 พฤษภาคม 2568 อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ
“ไฟดับครั้งใหญ่ในยุโรป: จุดเปลี่ยนของความมั่นคงพลังงาน” จุฬาฯ ร่วมกับ กฟผ. ถอดบทเรียนจากสเปน–โปรตุเกส 2025 สู่แนวทางออกแบบระบบพลังงานอย่างสมดุล รับมือโลกที่ไม่แน่นอน
วงมหาดุริยางค์ไทยเยาวชนแห่งจุฬาฯ วง “ChulaThaiYO” พร้อมโชว์บนเวทีระดับนานาชาติในงาน Thai Festival Tokyo 2025 ที่ญี่ปุ่น
จุฬาฯ ชวนเรียนรู้การใช้ AI อย่างรับผิดชอบผ่าน “Workshop: AI for Good ไม่ใช่แค่เก่ง ต้องใช้ให้เป็นและเกิดประโยชน์”
14 พ.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
โครงการฝึกอบรมรับรองสมรรถนะด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของอาจารย์จุฬาฯ สู่มาตรฐานสากล
จุฬาฯ ต้อนรับ President of Korea Foundation หารือความร่วมมือระหว่างกัน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้