ข่าวสารจุฬาฯ

“ZF(Zero Formalin)” นวัตกรรมจุฬาฯ คว้ารางวัลนานาชาติพลิกโฉมการเรียนกายวิภาคในสัตว์อย่างปลอดภัยไร้ฟอร์มาลิน

นวัตกรรม ZF(Zero Formalin)” น้ำยารักษาสภาพตัวอย่างสัตว์ สูตรปราศจากฟอร์มาลิน ผลงานของ รศ.น.สพ.ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณะ คว้ารางวัลเหรียญเงินจากเวที  The 50th Geneva International Exhibition of Inventions 2025 พร้อมรางวัลพิเศษ  NRCT Special Award for the Excellent Invention จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ด้วยความโดดเด่นของนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนที่ลดการใช้ฟอร์มาลินอย่างสิ้นเชิง ช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับนิสิตสัตวแพทย์ ยกระดับคุณภาพการศึกษากายวิภาคให้ใกล้เคียงความจริง ตอบโจทย์สุขภาพและความยั่งยืน

รศ.น.สพ.ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

“ZF(Zero Formalin)” น้ำยารักษาสภาพตัวอย่างสัตว์ สูตรปราศจากฟอร์มาลิน  มีจุดเริ่มต้นการพัฒนานวัตกรรมจากความห่วงใยในสุขภาพของนิสิตสัตวแพทย์ที่ต้องเรียนรู้ผ่านการผ่าศึกษาร่างสัตว์จริง ซึ่งในอดีตจำเป็นต้องใช้สารฟอร์มาลินในการรักษาสภาพร่างสัตว์เพื่อการเรียนการสอน แม้จะมีประสิทธิภาพในการคงสภาพเนื้อเยื่อ แต่ฟอร์มาลินเป็นสารอันตรายที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ตลอดจนมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่นๆตามมาในระยะยาว นำไปสู่แนวคิดการวิจัยและพัฒนาน้ำยาทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ด้วยการคิดค้นสูตรน้ำยาที่ไม่มีส่วนผสมของฟอร์มาลินขึ้น ภายใต้ชื่อ “ZF(Zero Formalin)”

รศ.น.สพ.ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล หัวหน้าโครงการวิจัย เผยถึงแนวคิดในการพัฒนาน้ำยารักษาสภาพร่างสัตว์ที่ไม่ใช้ฟอร์มาลินว่า เกิดขึ้นจากความห่วงใยในสุขภาพของนิสิตที่ต้องเรียนรู้กายวิภาคศาสตร์จากร่างสัตว์จริง ซึ่งแต่เดิมนิยมใช้ฟอร์มาลินเป็นน้ำยาหลัก แม้จะมีประสิทธิภาพในการรักษาสภาพร่างสัตว์ แต่กลับส่งผลข้างเคียงรุนแรง เช่น การระคายเคือง และความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ  ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตได้เรียนในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และใกล้เคียงกับสภาพร่างสัตว์จริงที่สุด จึงได้คิดค้น “ZF(Zero Formalin)” นวัตกรรมใหม่ของวงการการศึกษากายวิภาคสัตว์ ที่มุ่งลดการใช้สารที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษในห้องเรียน โดยใช้องค์ประกอบหลักเป็นแอลกอฮอล์ร่วมกับสารให้ความชุ่มชื้นและสารฆ่าเชื้อที่ปลอดภัยสูง ปราศจากสารอันตรายที่นิยมใช้ในสูตรน้ำยาอื่น ๆ เช่น ฟีนอล หรือสารกลุ่มฟอร์มาลดีไฮด์ โดยเนื้อเยื่อตัวอย่างสัตว์ที่มีการใช้น้ำยา “ZF(Zero Formalin)” จะยังคงความยืดหยุ่นของข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ไว้ได้อย่างดี จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับฝึกเรียนรู้กายวิภาคศาสตร์ หรือการฝึกผ่าตัดในระดับที่ใกล้เคียงกับสัตว์จริง

รศ.น.สพ.ก้องเกียรติ อธิบายถึงจุดเด่นของน้ำยารักษาสภาพตัวอย่างสัตว์สูตรปราศจากฟอร์มาลินว่าช่วยการลดความแข็งตัวของร่างสัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของการใช้ฟอร์มาลินในอดีต ซึ่งทำให้ข้อต่อและเนื้อเยื่อไม่สามารถขยับหรือใกล้เคียงสภาพสัตว์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ น้ำยา “ZF(Zero Formalin)” ยังช่วยลดปัญหากลิ่นรุนแรง การระคายเคืองตาและระบบหายใจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของนิสิตในระหว่างเรียนในชั้นเรียน

“การนำ “ZF(Zero Formalin)” ไปใช้จริงเริ่มต้นในหลักสูตรของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 ทั้งในภาคการศึกษาปกติและการอบรมระยะสั้น โดยมีการใช้กับสัตว์หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว แพะ แกะ ไปจนถึงม้า ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจทั้งในด้านความสมจริง ความปลอดภัย และการตอบสนองต่อการเรียนการสอนแบบปฏิบัติ ทั้งนี้ยังได้มีการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในห้องเรียน พร้อมผลการวิจัยที่ยืนยันความปลอดภัยต่อผู้เรียนในระดับที่สามารถใช้ห้องเรียนปรับอากาศได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าต่างระบายอากาศเหมือนในอดีต” รศ.น.สพ.ก้องเกียรติ อธิบายเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของนวัตกรรมนี้ไม่ได้หยุดเพียงในประเทศเท่านั้น เมื่อทีมวิจัยได้นำนวัตกรรม “ZF(Zero Formalin)” เข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ The 50th Geneva International Exhibition of Inventions 2025 ณ สมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นงานประกวดนวัตกรรมที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีผู้เข้าร่วมจากกว่า 1,000 ผลงานทั่วโลก ได้รับรางวัลเหรียญเงิน และรางวัลพิเศษ NRCT Special Award for the Excellent Invention จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติด้วยความโดดเด่นด้านคุณค่าทางวิชาการ การตอบโจทย์สุขภาพผู้เรียน และศักยภาพในการขยายผลใช้งานจริง


ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้ขยายผลการใช้น้ำยารักษาสภาพตัวอย่างสัตว์ สูตรปราศจากฟอร์มาลิน “ZF(Zero Formalin)” สู่สถาบันการคึกษาอื่น ๆ ผ่านการถ่ายทอดเทคนิคการใช้และแจกจ่ายน้ำยาในระยะแรกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนสู่ห้องเรียนปลอดฟอร์มาลิน พร้อมทั้งวางแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ในอนาคต หลายสถาบันเริ่มมีความสนใจในการใช้น้ำยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นทางเลือกในการลดการใช้ฟอร์มาลินในการเรียนการสอนกายวิภาคทางสัตวแพทย์ ทั้งนี้ จะมีการพัฒนาสูตรน้ำยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท โดยมุ่งหวังให้การลดการใช้ฟอร์มาลินในระดับประเทศเป็นไปด้วยประสิทธิภาพ และสามารถสร้างผลเป็นรูปธรรมที่ยั่งยืนในระยะยาว

น้ำยารักษาสภาพตัวอย่างสัตว์ สูตรปราศจากฟอร์มาลินจึงเป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองการใช้งานและการเรียนการเรียนสอนของนิสิตสัตวแพทย์ และเป็นตัวอย่างของการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับนโยบายของจุฬาฯ ที่เน้นในด้านสุขภาพและความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมุ่งสู่เป้าหมาย SDG 3: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และ SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างแท้จริง” รศ.น.สพ.ก้องเกียรติกล่าว

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า