รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 พฤษภาคม 2568
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ความเป็นนานาชาติ
เพื่อส่งเสริมมิตรภาพและความร่วมมือทางวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ จัดโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยนำนิสิตและวงดนตรีไทยเดินทางไปยัง Hokkaido University of Education ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2568 เพื่อร่วมจัดแสดงดนตรีไทยในเวทีนานาชาติ ณ หอแสดง Hall of Iwamizawa City and Culture Center (Manamiru) ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาและคณาจารย์ ในบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้และความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม
กิจกรรมในครั้งนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือทางวิชาการ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างสองสถาบัน อันสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และความมุ่งมั่นในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ร่วมทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือระหว่างคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ Hokkaido University of Education ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการผ่านการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ตั้งแต่ปี 2561 และจะมีการลงนามต่ออายุ MOU ฉบับใหม่ภายในปี 2568 เพื่อยืนยันพันธกิจร่วมกันในการพัฒนาวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองสถาบันได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนนิสิต อาจารย์ และนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดกิจกรรมทางวิชาการ เริ่มต้นจากการต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากฮอกไกโดมาศึกษาด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2555 และ 2558
การแสดงคอนเสิร์ตของนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ ณ ประเทศญี่ปุ่นในปี 2561 มีการนำเสนอบทเพลงสร้างสรรค์ใหม่ ชื่อชุด Tanoshii Hokkaido – สุขสันต์ฮอกไกโด ประพันธ์โดย รศ.ดร.ภัทระ คมขำ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งถ่ายทอดอัตลักษณ์ทางดนตรีที่สะท้อนมิตรภาพระหว่างสองสถาบัน
ในปี 2566 ความร่วมมือดังกล่าวได้รับการต่อยอดสู่การทำวิจัยเชิงชาติพันธุ์เกี่ยวกับดนตรีของชาวไอนุ (Ainu) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในเขตฮอกไกโด ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก Japan Society for the Promotion of Science (JSPS) โดยมี ศ. ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นนักวิจัย ตีพิมพ์บทความเผยแพร่ผลวิจัยในวารสารฐาน Scopus Q1 เรื่อง The Development of Sustainability for Tonkori Performance of Ainu People in Northern Japan เมื่อปี 2566 และได้ร่วมเขียนบทความวิชาการกับ ศ.ดร.ทาคาโกะ อิวาซาวะ ศ. ดร.ริวสุเกะ อิโตะ (Hokkaido University of Education) และ รศ. ดร.ภัทระ คมขำ จากจุฬาฯ บทความชื่อ “Sustainability of Arts and Culture by Overcoming Challenges: From the Perspective of Transculturation” มีกำหนดตีพิมพ์ในวารสาร *Journal of Hokkaido University of Education (Basic Research) ฉบับที่ 77 ในช่วงปลายปี 2568 และในปี 2567 ทั้งสองสถาบันยังได้จัดประชุมวิชาการร่วมกันในหัวข้อ “Sustainability of Arts and Culture” เพื่อขยายขอบเขตความร่วมมือสู่บริบทนานาชาติ
ความร่วมมือระหว่างสองมหาวิทยาลัยนี้จึงถือเป็นความร่วมมืออย่างเต็มรูปแบบทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การวิจัยร่วม และการตีพิมพ์ร่วมกันในระดับนานาชาติ เป็นตัวอย่างของโครงการความร่วมมือแบบยั่งยืน ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาวิชาการในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากความร่วมมือในมิติของการวิจัยและการประชุมวิชาการแล้ว การแสดงดนตรีไทยในครั้งนี้ยังถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่สะท้อนผลลัพธ์ของความร่วมมือทางวิชาการสู่การปฏิบัติจริง ทั้งในด้านการสร้างประสบการณ์ตรงแก่นิสิต และการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยสู่เวทีระดับนานาชาติ วงดนตรีไทยจะนำเสนอผลงานหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ เพลงโหมโรงอาทิตย์อุทัย ประพันธ์โดย ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ อดีตคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ บทเพลงสำเนียงภาษาญี่ปุ่น จากบทเพลงพื้นเมืองญี่ปุ่น เพลง Sakura ซึ่งถ่ายทอดอัตลักษณ์ทางดนตรีที่สะท้อนมิตรภาพระหว่างสองประเทศได้อย่างดีเยี่ยม การเผยแพร่บทประพันธ์ใหม่โดยนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์จำนวน 1 บทเพลงชื่อเพลงฝั่งนที รวมถึงการแสดงเดี่ยวดนตรีที่สะท้อนความลุ่มลึกของภูมิปัญญานักดนตรีไทยและความสนุกสนานในการแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมครั้งนี้
นอกจากการบรรเลงเผยแพร่ดนตรีไทยแล้ว นิสิตยังจะได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีเชิงลึก การศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมดนตรีโดยเฉพาะ Tonkori และ Mukuri เครื่องดนตรีของชาว Ainu ชนพื้นถิ่นของอำเภอฮอกไกโด เกาะ Sakharin และเกาะคุริว Kurei (ซึ่งปัจจุบันบางพื้นที่ถูกรวมไปอยู่กับสหพันธรัฐรัสเซีย) ทำให้ดนตรีดังกล่าวมีอพยพโยกย้ายพื้นที่อย่างน่าสนใจ และชาวญี่ปุ่นมีความมั่นคงที่จะร่วมใจกันรักษาวัฒนธรรมดนตรีนี้ให้ยั่งยืน ด้วยการสร้างความตระหนักและความพยายามร่วมมือกัน ซึ่งเป็นต้นแบบที่นิสิตควรได้รับความรู้อย่างยิ่ง ในฐานะผู้ที่จะสืบสานดูแลงานวัฒนธรรมของชาติสืบไป
การเดินทางในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ผศ.ดร.วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช ผู้ช่วยอธิการบดีด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม คุณกรรชิต จิตระทาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม และ ศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมเดินทางพร้อมคณาจารย์คณะศิลปกรรรมศาสตร์ ได้แก่ รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ รศ.ดร.ภัทระ คมขำ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ และนิสิตจำนวน 13 คน ในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยสู่เวทีนานาชาติ
ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมติดตามและให้กำลังใจนิสิตในการจัดแสดงคอนเสิร์ตดนตรีไทยในฮอกไกโดครั้งนี้
Chula Social Engagement ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จับมือสามย่านมิตรทาวน์ ขยายโอกาสการเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์ “พรรณไม้ในพระนาม” สู่เด็กและเยาวชน จ.สระบุรี
นายกสภาจุฬาฯ บรรยายพิเศษเรื่องกระบวนทัศน์ต่อเอเชียในอนาคต ในงาน Asia Forward Series ครั้งที่ 3 จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ
จุฬาฯ และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้สู่สังคม
30 พ.ค. 68 เวลา 10.30 ข 12.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ จัดโครงการอบรมภาษาจีนระยะสั้นภาคฤดูร้อนสำหรับนิสิตจุฬาฯ
จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ : ดิจิทัลวอร์รูมจัดอบรมพัฒนานวัตกรน้อยเรียนรู้รับมือภัยพิบัติผ่านโปรแกรม Roblox
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้