อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567

อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2567 ดังนี้
รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567
อาจารย์จุฬาฯ ได้รับรางวัลจำนวน 4 ท่าน ใน 4 สาขาวิชา จากทั้งหมด 9 ท่าน ใน 7 สาขาวิชา ได้แก่
- รศ.ดร.ธิติ บวรรัตนารักษ์ คณะวิทยาศาสตร์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
- ศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ คณะแพทยศาสตร์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
- ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
- ศ.ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา คณะครุศาสตร์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาการศึกษา
รางวัลผลงานวิจัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 9 ผลงาน จากทั้งหมด 58 ผลงานใน 12 สาขาวิชา ดังนี้
รางวัลระดับดีมาก จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
- ศ.ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร และคณะ จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ผลงานวิจัยเรื่อง “การจัดเก็บแก๊สในรูปแบบของแข็ง: จากความยั่งยืนด้านพลังงานสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม” (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)
รางวัลระดับดี จำนวน 8 รางวัล ได้แก่
- รศ.ภญ.ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ และคณะ จากคณะเภสัชศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “บทบาทหน้าที่ของโปรตีน Calmodulin-regulated Spectrin-associated Proteins (CAMSAPs) ในเซลล์มะเร็งปอดเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและโปรตีนเป้าหมายในการรักษา” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
- ดร.สุดเขต ไชโย และคณะ จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “ไบโอเซนเซอร์เคมีไฟฟ้าบนฐานกระดาษสำหรับวินิจฉัยโรคโควิด 19: การตรวจหาแอนติบอดีและแอนติเจนของเชื้อไวรัสโคโรนา” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
- รศ.ดร.อมรชัย อาภรณ์วิชานพ และคณะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาและทำนายวัสดุขั้วไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาด” (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)
- รศ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ และคณะ จากคณะเศรษฐศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “บทบาทของกฎเกณฑ์ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อพฤติกรรมของธุรกิจขนาดเล็ก : หลักฐานเชิงประจักษ์จากข้อมูลภาษีของประเทศไทย” (สาขาเศรษฐศาสตร์)
- รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ และคณะ จากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้กับแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุสำรองและสูงอายุโดยการส่งเสริมเศรษฐกิจสมานฉันท์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล” (สาขาสังคมวิทยา)
- รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง จากคณะรัฐศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “แผนงานวิจัยท้าทายไทย : สังคมไทยไร้ความรุนแรง (ปีที่ 2)” (สาขาสังคมวิทยา)
- รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา จากคณะนิเทศศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่” (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์)
- ศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม และ น.ส.หทัยภัทร โอสุวรรณ จากคณะครุศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “ระบบ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย” (สาขาการศึกษา)
รางวัลวิทยานิพนธ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 1 ผลงาน จากทั้งหมด 51 เรื่อง ใน 12 สาขาวิชา ได้แก่ รางวัลระดับดี โดย ดร.บุศรินทร์ สวัสดิ์ล้น จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานวิทยานิพนธ์เรื่อง “Molecular Volcano Plots: เครื่องมือสำหรับการออกแบบและทำนายประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาเอกพันธุ์” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Prof.Clemence Corminboeuf
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลจำนวน 9 ผลงาน จากทั้งหมด 60 ผลงานใน 9 สาขาวิชา ดังนี้
รางวัลระดับดีมาก จำนวน 1 รางวัล ได้แก่
- ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “WaGMuS: ทรายจากเปลือกหอยแมลงภู่สำหรับชุดกิจกรรมเล่นทราย” (สาขาปรัชญา)
รางวัลระดับดี จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
- ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ จากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีระบบรองรับน้ำหนักแขน สำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีปัญหาการเดินการทรงตัวและหลังโค้งงอ” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
- ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาวิธีการเชิงเคมีไฟฟ้าสำหรับการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกัญชาและคัดกรองบุคคลที่สูบกัญชาในบริเวณที่มีการควบคุมตามกฎหมาย” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
- ดร.วิลาสินี สุขสว่าง จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “อินไซท์วัดโพธิ์: แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวในวัดโพธิ์” (สาขาสังคมวิทยา)
รางวัลประกาศเกียรติคุณ จำนวน 5 รางวัล ได้แก่
- ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “ดูริวอยซ์: เครื่องบันทึกเสียงเคาะทุเรียนด้วยระบบตัดเสียงรบกวนเพื่อการวิเคราะห์ความบริบูรณ์ด้วยปัญญาประดิษฐ์” (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
- ดร.อับดุลฮาดี ยะโก๊ะ และ ดร.สุดเขต ไชโย จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “โกเช็ค: ดีเอ็นเอชิพอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการตรวจวัดสารพันธุกรรมโรคหนองในแท้แบบรู้ผลเร็วใน 15 นาที” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
- ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “ไพลวาเซนโกลด์” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
- ดร.สุดเขต ไชโย และคณะ จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “สตริปเทสเคมีไฟฟ้าอย่างเร็วสำหรับตรวจประเมินปริมาณของ THC” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
- ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ ผลงานเรื่อง “หุ่นจำลองอวัยวะหนูขาวใหญ่ (Rattusnorvegicus) ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ในรูปแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง” (สาขาการศึกษา) (ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย