จุฬาฯ มอบพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 และหอประชุมจุฬาฯ จำลอง แก่ผู้บริจาคเงิน “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ”

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566 ณ บริเวณโถงชั้นล่าง อาคารจามจุรี 4 ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีมอบพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแก่ผู้บริจาคเงิน“จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ” จำนวน 50,000 บาทขึ้นไป และมอบหอประชุมจุฬาฯ จำลอง เนื้อทองเหลือง ขนาด 12×20 ซม. สูง 6 ซม. แก่ผู้บริจาคเงิน 20,000 บาท เพื่อแสดงความขอบคุณที่ร่วมบริจาคเงินเพื่อสภากาชาดไทย สนับสนุนสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ในโอกาสครบรอบ 100 ปีงานกาชาด ปี 2566 โดยมีคุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการดำเนินงานจัดหารายได้จุฬาฯ-กาชาด
รศ.ดร.พิมพ์พนา ศรีสวัสดิ์ รองอธิการบดี ด้านการเงินและการบัญชี และ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer ร่วมในพิธีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนร่วมบริจาคเงินเพื่อสภากาชาดไทย สนับสนุนงานบรรเทาทุกข์ฯ ร่วมบริจาคผ่าน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ หักลดหย่อนภาษี 2 เท่า ภายใน 25 ธันวาคม 2566
1. โอนเงินบัญชี SCB สาขาสภากาชาดไทย “เงินกาชาด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
เลขที่บัญชี 045-226703-8
2. สำหรับผู้ที่บริจาค 1,000 บาทขึ้นไป สามารถกรอกแบบฟอร์มในลิงก์ https://form.jotform.com/233038392711453 และแนบหลักฐานเพื่อขอใบเสร็จรับเงิน
3. รอรับใบเสร็จส่งถึงบ้าน และได้หักลดหย่อนภาษี 2 เท่า
ของสมนาคุณสำหรับผู้บริจาค 20,000 บาท
• หอประชุมจุฬาฯ จำลอง เนื้อทองเหลือง ขนาด 12×20 ซม. สูง 6 ซม.
• บัตรคอนเสิร์ตการกุศล “จุฬาฯ-สุนทราภรณ์“ 2 ใบ
จัดแสดงในวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ หอประชุมจุฬาฯ เวลา 14.00-17.00 น.
ของสมนาคุณสำหรับผู้บริจาค 10,000 บาท
• บัตรคอนเสิร์ตการกุศล “จุฬาฯ-สุนทราภรณ์“ 1 ใบ
*ทั้งนี้พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 สำหรับผู้บริจาค 50,000 บาท ได้รับการจองทั้งหมดแล้วเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566
ที่ผ่านมามีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ” จำนวนมากและได้มีพิธีมอบเงินบริจาคที่จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี และคุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการดำเนินงานจัดหารายได้จุฬาฯ-กาชาด เป็นตัวแทนรับมอบ
ทั้งนี้เมื่อสิ้นช่วงเวลารับบริจาค (25 ธันวาคม 2566) แล้ว จะมีการจัดพิธีมอบเงินบริจาคดังกล่าวอีกรอบหนึ่งต่อไป













จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย