รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
ฝ่ายพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญชมนิทรรศการการวิจัยสร้างสรรค์ “พายุ” การสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยจากฮูปแต้มสองฝั่งโขงไทย-ลาว สู่การแปรเปลี่ยนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จัดแสดงระหว่างวันที่ 13 มีนาคม – 24 เมษายน 2567 ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.30 น. และปิดให้บริการในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ พิธีเปิดนิทรรศการในวันพุธที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น.
ผลงานนิทรรศการชุด “พายุ” ผลงานของ อนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี เกิดขึ้นจากการนำลายเส้นจากฮูปแต้มจากสิมวัดสนวนวารีพัฒนาราม รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และข้อมูลทางเอกสารมาพัฒนาลายเส้นขึ้นใหม่ให้เป็นแบบเฉพาะของตนซึ่งแตกต่างไปจากเดิม ฉากการสู้รบของสินไซและยักษ์กุมภัณฑ์ที่ศิลปินได้เขียนขึ้นต่อเติมภาพที่ขาดหายไป โดยจัดวางองค์ประกอบเรื่องราวใหม่ และเขียนภาพด้วยเทคนิค “จารบาติก” ซึ่งเป็นเทคนิคที่ศิลปินพัฒนามาจากภูมิปัญญาโบราณและท้องถิ่น โดยศิลปินได้สร้างพื้นผิวให้มีลักษณะผุกร่อนเสื่อมสลายเพื่อสื่อถึงลักษณะของฮูปแต้มจริงที่ได้พบเห็นและยังสื่อถึงเรื่องไตรลักษณ์อีกด้วย
ศิลปินเลือกใช้พาราฟิน (Paraffin) ลงรองพื้นเพื่อให้พื้นผิวเกิดลวดลายที่มีความแตกหัก ส่วนการเขียนภาพลายเส้นบนภาพใช้เทคนิคเดียวกันกับการจารหรือเขียนบนใบลานเพื่อให้เกิดเส้นที่คมชัด และอีกหนึ่งเทคนิคที่ใช้คือบาติก ซึ่งการผสานกันของสองเทคนิคเป็นสิ่งที่ศิลปินคิดค้นขึ้นโดยมีวิธีการเขียนลายเส้นลงบนผ้าด้วยเหล็กแหลมทำให้เกิดรูปร่างและทรง หลังจากนั้นใช้จันติ้งลงเทียนสีและนำไปมัดย้อมด้วยสีบาติกตามลำดับ ซึ่งในภาพชุดนี้เลือกใช้สีโทนสีน้ำเงิน ดำ และน้ำตาลเป็นหลัก ทำให้ภาพมีความเข้มขรึมและขลังเพื่อสื่อถึงความหนักหน่วงที่เกิดในใจของนางสุมณฑา และแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของการสู้รบระหว่างสองฝ่ายที่มีความรุนแรงราวกับพายุอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2218-3645-6, 0-2218-3624 หรือที่ Facebook: Chulamuseum
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้