รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 สิงหาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
แอปพลิเคชัน ViaBus นวัตกรรมสำหรับติดตามและนำทางขนส่งสาธารณะแบบเรียลไทม์ที่เชื่อมโยงทุกระบบคมนาคมเข้าไว้ด้วยกันในแอปพลิเคชันเดียว ผลงานของนิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ (CU Innovation Hub) ได้รับการตอบรับจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในการนำไปใช้จริงอย่างแพร่หลายในพื้นที่ต่างๆ
ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดย ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ ดร.ปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา รศ.ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง รองอธิการบดีวิทยาเชตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายอินทัช มาศวงษ์ปกรณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เวีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567ณ ห้อง Conference 1-2 สำนักงานอีอีซี เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบสารสนเทศในการขนส่งสาธารณะผ่านนวัตกรรมแอปพลิเคชัน ViaBus โดยจะมีการนำร่องใช้งานที่รถโดยสารสวัสดิการของมหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา รวมถึงรถโดยสารสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองในอนาคต ซึ่งจะมีส่วนช่วยยกระดับการขนส่งสาธารณะในพื้นที่อีอีซี ช่วยให้ผู้โดยสารสามารถติดตามตำแหน่งรถ สถานี และเส้นทางได้ในแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถวางแผนการเดินทางและบริหารเวลาได้ดียิ่งขึ้น สำหรับผู้ประกอบการเดินรถ แอปพลิเคชันนี้จะช่วยในการบริหารจัดการการเดินรถได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความซับซ้อนและตอบโจทย์ความต้องการของผู้โดยสาร
ความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผลักดันให้เกิดการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่อีอีซีอย่างแพร่หลาย มีการวางแผนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้สนใจอื่น ๆ เพื่อยกระดับโครงข่ายการเดินทาง ระบบคมนาคมในพื้นที่อีอีซี ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อีอีซี ทำให้การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะมีความทันสมัย ปลอดภัย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการพัฒนาการคมนาคมขนส่งในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เกิดการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการเดินทางของประชาชนอย่างไร้รอยต่อ
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เชิญร่วมงาน President’s Distinguished Speaker ครั้งที่ 4 “From Turbulence to Triumph: การบินไทย จากฟื้นฟูสู่พุ่งทะยาน”
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น.
Facebook Live
ผู้แทนจาก Ohio University สหรัฐอเมริกาหารือการขยายความร่วมมือกับจุฬาฯ
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. เปิดตัวนวัตกรรม “น้องเคยมาเท่าไหร่” และ “ตามสั่ง-ตามส่ง” พร้อมให้ใช้งานแล้วทั่วประเทศ
อันตราย! ระวังอย่าหลงเชื่ออีเมล “ปลอม”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้