รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 ธันวาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ร่วมมือภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานเสวนาความรู้ทางด้านการตลาด ร่วมพลิกโฉมธุรกิจสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน และเปิดตัวหลักสูตร “ZEN: Marketing Legacy of the Rising Sun” หลักสูตรการตลาดเชิงญี่ปุ่นสำหรับผู้บริหารระดับสูงและเจ้าของกิจการ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาฯ ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Marketing for Sustainability” คุณพัลลภ ไทยอารี ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) กล่าวถึงที่มาของหลักสูตร ZEN ผศ.ดร.ปณิธาน จันทองจีน ประธานหลักสูตร ZEN กล่าวรายงาน รศ.ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวต้อนรับ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ Chulalongkorn Business Cinema ชั้น 3 อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า งานเปิดตัวหลักสูตร “ZEN (Zoomed Experience for the Next): Marketing Legacy of the Rising Sun” เป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กับองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (WFB) เพื่อพัฒนาผู้บริหารไทย ด้วยองค์ความรู้และปรัชญาการตลาดญี่ปุ่นที่เน้นความยั่งยืน ภายใต้กรอบแนวคิด “CARE” ประกอบด้วย C: Community การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคมโดยรวม A: Accountability ความโปร่งใสและความรับผิดชอบในทุกขั้นตอนของธุรกิจ R: Resilience การปรับตัวและสร้างระบบที่ยืดหยุ่นเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลง และ E: Environment การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนในทุกมิติของธุรกิจและสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สร้างความแตกต่างให้กับภาคธุรกิจในประเทศไทย หวังว่าหลักสูตร ZEN นี้จะช่วยเสริมสร้างความสามารถของผู้บริหารไทยให้แตกต่างและก้าวกระโดด
คุณพัลลภ ไทยอารี ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) กล่าวว่า “องค์การ พ.ส.ล. ทำงานร่วมกับองค์กรนานาชาติทั้งในและต่างประเทศ ทั้งด้านศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษามาโดยตลอด การร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้นำในด้านการอุดมศึกษาของประเทศไทยในครั้งนี้เป็นการใช้องค์ความรู้ เครือข่ายขององค์การฯ และบุคลากรมาทำงาน เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่เป็นแนวทางใหม่ที่ต่างออกไป โครงการ “ZEN: Marketing Legacy of the Rising Sun” เป็นหลักสูตรการอบรมทางการตลาดที่มุ่งเน้นถึงความจริงใจ ความซื่อตรงต่อลูกค้า โดยมีการนำเครือข่ายทั้งในด้านการศึกษาและสังคมของญี่ปุ่นเข้ามาใช้ในการอบรม ร่วมด้วยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาเซนในประเทศไทย และ ดร.เทอดทูน ไทศรีวิชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการ Coaching เพื่อให้การเรียนรู้นั้นมาจากผู้รู้จริง“
ผศ.ดร.ปณิธาน จันทองจีน ประธานหลักสูตร ZEN กล่าวว่า ”จากการเสวนา Marketing for Sustainability: A Journey Inspired by Japanese Principles ได้ข้อสรุปว่าการตลาดที่จะสร้างความยั่งยืนได้นั้น จะต้องเป็นการตลาดที่ใส่ใจ (CARE) และเป็น ZEN Marketing (Zen Principles – Empathy – Nurture)
“ZEN Marketing” ผสมผสานปรัชญาญี่ปุ่น สร้างเป็น 3 องค์ประกอบสำคัญทางการตลาด ได้แก่
Z: Zen Principles คือแนวทางที่เน้นความเรียบง่ายและสมดุลในทุกกระบวนการ ไม่มุ่งแค่การเติบโตทางยอดขายเพียงอย่างเดียว
E: Empathy ต้องเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่การศึกษาเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วไป
N: Nurture ซึ่งเป็นเรื่องของการดูแลความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า และการสร้างประสบการณ์ที่ดีในทุกจุดสัมผัส
จุดเด่นของหลักสูตร ZEN เป็นหลักสูตรการตลาดที่ผสานปรัชญาญี่ปุ่นหลักสูตรเดียวที่เป็นความร่วมมือกับภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และผู้บริหารองค์กรชั้นนำกว่า 10 แห่ง ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ ติดอาวุธทางการตลาดกับ ZEN GURU ผู้รู้จริงและผู้มีประสบการณ์จริงระดับแนวหน้าของไทยและญี่ปุ่น รวมทั้งได้ใกล้ชิดกับ ZEN Guru อย่างลึกซึ้ง เต็มเปี่ยมด้วยสาระและแรงบันดาลใจ เปิดโลกใหม่กับทริปดูงานระดับ Exclusive ณ องค์กรระดับตำนานในญี่ปุ่น ที่เปิดให้เข้าชมเป็นพิเศษเฉพาะหลักสูตร ZEN ทั้งนี้ผู้ผ่านการอบรมเกิน 80% จะได้รับประกาศนียบัตรจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
สามารถติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร ZEN ได้ทาง Facebook: Zoomed Experience for the Next: ZEN หรือ โทร 06-2878-8101
รมว.ศึกษาธิการเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ ICESML 2025 ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กำหนดภาวะผู้นำแห่งอนาคตและปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารระบบการศึกษา
งานเปิดตัวเข็มวันอานันทมหิดล ประจำปี 2568 “Air We Share, Lungs We Care ห่วงใยทุกลมหายใจ”
ศศินทร์เปิดหลักสูตรระยะสั้น Radical Innovation in Family Business: Transforming for the Future
18 - 19 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 - 16.30 น. ศศินทร์
จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “เสว่ยหลง 2 และอนาคต” เสริมความร่วมมือไทย–จีน ด้านการวิจัยขั้วโลกและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จุฬาฯ ต้อนรับผู้บริหาร Durham University สหราชอาณาจักร หารือความร่วมมือทางวิชาการ
แถลงข่าวเปิดตัวโครงการอบรมเฉพาะทางระยะสั้น “World Class Destination Development”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้