รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568 ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ นำคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเดินทางไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชพระราชฐาน และสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายใต้การดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐานและสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตเกาะสีชังในครั้งนี้ นายกสภามหาวิทยาลัยอธิการบดี และคณะผู้บริหารได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน และได้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า โดยนายกสภามหาวิทยาลัยได้มอบวิสัยทัศน์และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐานให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป
ในโอกาสนี้ นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดีจุฬาฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ทดลองปลูกปะการัง รวมทั้งได้ปล่อยปูม้าและฉลามทรายคืนสู่ธรรมชาติหน้าเรือนไม้ริมทะเลด้วย
พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชพระราชฐาน เกาะสีชัง เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี 2432 เพื่อเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรมจุฬาฯ ได้เข้ามาบูรณะและพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เชิญร่วมงาน President’s Distinguished Speaker ครั้งที่ 4 “From Turbulence to Triumph: การบินไทย จากฟื้นฟูสู่พุ่งทะยาน”
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น.
Facebook Live
ผู้แทนจาก Ohio University สหรัฐอเมริกาหารือการขยายความร่วมมือกับจุฬาฯ
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. เปิดตัวนวัตกรรม “น้องเคยมาเท่าไหร่” และ “ตามสั่ง-ตามส่ง” พร้อมให้ใช้งานแล้วทั่วประเทศ
อันตราย! ระวังอย่าหลงเชื่ออีเมล “ปลอม”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้