รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 มีนาคม 2568
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท Tact Social Consulting จัดงานเปิดตัวโครงการบ่มเพาะนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation-Led Enterprise) เพื่อผลักดันงานวิจัยด้านสังคมสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ณ อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ โดยมี รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับดูแลศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานกล่าวเปิดงาน กล่าวรายงานโดยคุณอาภรณ์พรรธน์ จันทวานิช ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและบูรณาการงานวิจัย สำนักบริหารวิจัย
งานเปิดตัวโครงการบ่มเพาะนวัตกรรมทางสังคมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและพัฒนางานวิจัยที่มีศักยภาพให้สามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยอาจารย์และนักวิจัยจะได้รับการบ่มเพาะและคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะด้านธุรกิจเพื่อผลักดันงานวิจัยให้สู่ตลาด โดยศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะสนับสนุนทุนวิจัย 2 ประเภท ได้แก่ ทุนพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมทางสังคม หรือ Prototype Fund สำหรับโครงการที่อยู่ในระยะสำรวจและทดลองแนวคิดเบื้องต้น และทุนเพาะกล้า หรือ Seed Fund สำหรับโครงการที่มีต้นแบบพร้อมใช้งานและต้องการขยายผลสู่ตลาด
รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ หรือ SiHub ได้ดำเนินงานมากกว่า 4 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ศูนย์ฯ ได้ดำเนินการบ่มเพาะและอบรมอาจารย์และนักวิจัยมาแล้ว 2 รุ่น รวม 60 คน จากหลากหลายส่วนงาน และให้การสนับสนุนทุนพัฒนานวัตกรรมทางสังคมมากกว่า 15 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้งานจริง โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA สำหรับโครงการนี้ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ SDGs ครอบคลุมหลายมิติ เช่น ความยากจน การศึกษา ความเท่าเทียม สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจหมุนเวียน
ภายในงานมีการเสวนาหัวข้อ “Social Innovation” โดยวิทยากรจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่ คุณอัจฉรา รุ่งเชตุ (DIPROM) ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ โกศลพิศิษฐ์กุล (FTI) และ รศ.ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล (บพข.) พร้อมทั้งมีบูธประชาสัมพันธ์จากแหล่งทุน (สำนักงานกองทุนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการผลงานนวัตกรรมทางสังคมจากอาจารย์และนักวิจัยที่เคยได้รับทุน อาทิ
โครงการบ่มเพาะนวัตกรรม Social Innovation-Led Enterprise เปิดรับข้อเสนอโครงการที่สามารถแก้ปัญหาด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นผลกระทบที่ยั่งยืน ครอบคลุม 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ Climate Change, Circular Economy, Biodiversity, Health & Well-Being และ Soft Power-Culture & Inclusivity Society
สามารถยื่นข้อเสนอผ่านระบบ myResearch ตั้งแต่บัดนี้ – 15 เมษายน 2568 ผ่านเว็บไซต์ https://myresearch.chula.ac.th/
ติดตามรายละเอียดการยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bit.ly/4hItRbT
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 68 เวลา 14.00 -16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้