รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผศ.ดร.วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ “ปฐมกาล ผ่านสายตาสยามและเปอร์เซีย” (Genesis through Siamese and Persian Eyes) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 ณ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีนายมะห์ดี ซาแอ Mr. Mehdi Zare Bieib, Cultural Counsellor (Attaché) แห่งสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในประเทศไทยร่วมแสดงความยินดี
นิทรรศการดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม และศูนย์เอเชียใต้ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยนำเสนอผลงานจิตรกรรมจากการตีความตำนาน “ปฐมมูลมูลี” (คัมภีร์ใบลานโบราณจากภาคเหนือของไทย) จำนวน 5 เรื่อง ที่พูดถึงการสร้างโลกโดยปู่สังไคยะสังกะสี และนางอิตถังไคยะสังกะสีที่ถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของล้านนาของศิลปินไทยคุณกังวาลไพร ชมภูพื้น และศิลปินอิหร่านคุณออรัช เกโรเอียน ทั้งสองศิลปินได้ตีความจากเนื้อหาในตำนานผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนา และประสบการณ์ของแต่ละวัฒนธรรมผ่านภาพวาดที่มีความประณีต บรรจง และมีเส้นสายที่ละเอียดพลิ้วไหวจนต้องมองผ่านแว่นขยาย
นิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 4 มิถุนายน 2568 ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิทรรศการในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการด้าน Social Engagement ซึ่งได้รับการสนับสนุนโครงการจาก รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ รองอธิการบดี โดยเน้นการมีส่วนร่วม การเผยแพร่งานศิลปะและวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศที่แสดงให้เห็นถึงความเหมือน และความแตกต่างไปพร้อม ๆ กัน มีการเปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมสร้างสรรค์ผลงานของตนเองโดยเลือกจากภาพลายเส้นของสองศิลปินที่ทางพิพิธภัณฑ์ฯ เตรียมไว้ให้มาระบายสีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการอย่างไม่เป็นทางการ เพราะผู้ชมสามารถเลือกนำกลับเพื่อเป็นที่ระลึกก็ย่อมได้เพื่อเป็นการส่งมอบความสุนทรีแก่ผู้ชมอย่างแท้จริง และเป็นการตอบโจทย์ตามแนวคิด “การให้ความรู้ และเพิ่มความสุขแก่สังคม”
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 68 เวลา 14.00 -16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
เสวนา “eDNA กับความยั่งยืนของทรัพยากรทางน้ำของประเทศไทย” ภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาฯ
เชิญร่วมการสัมมนาเรื่อง “ฐานข้อมูลด้านแรงงาน: ที่มีอยู่ การนำไปใช้ และแนวทางต่อไป”
2 พ.ค. 68
Zoom Meeting
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้