รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
“วารสารภาษา” ซึ่งเป็นวารสารในฐานข้อมูล Scopus (Quartile 2) ของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวารสารด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย จัดงานเสวนาวิชาการในหัวข้อ “Authoring Manuscripts: Do’s, Don’ts, and More” เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.ปัญชลี วาสนสมสิทธิ์ บรรณาธิการวารสารภาษา ร่วมกับ รศ.ดร.ศุภกรณ์ ภู่เจริญศิลป์ บรรณาธิการวารสาร LEARN มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.ธนิศร์ ตั้งกิจเจริญกุล บรรณาธิการวารสาร rEFLections มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นวิทยากร
งานเสวนาครั้งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อเดิมของวารสารภาษา คือ “ภาษาสังสรรค์” ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งโดย หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ นักวิชาการคนสำคัญด้านภาษาและวรรณกรรมในอดีต เมื่อปี 2517 ในงานนี้ วิทยากรทั้งสามท่านได้ให้ข้อมูลเรื่องหลักเกณฑ์ที่วารสารแต่ละฉบับใช้ในการคัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาบัณฑิตศึกษาจำนวนประมาณ 100 คนที่เข้าร่วมการเสวนา ณ ห้องประชุมและทางออนไลน์ยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องการเขียนบทความเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ การจัดงานในครั้งนี้ทำให้ได้รับบทความที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์สำหรับการตีพิมพ์ในวารสารเพิ่มขึ้นจากการ “สังสรรค์” ในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้งานเสวนาวิชาการดังกล่าวเต็มเปี่ยมไปด้วยเนื้อหาสาระจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเขียนบทความวิชาการและวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อแวดวงวิชาการของไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานที่นิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เชิญร่วมงาน President’s Distinguished Speaker ครั้งที่ 4 “From Turbulence to Triumph: การบินไทย จากฟื้นฟูสู่พุ่งทะยาน”
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น.
Facebook Live
ผู้แทนจาก Ohio University สหรัฐอเมริกาหารือการขยายความร่วมมือกับจุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้