รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว, หลักสูตรระยะสั้น
ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) และพันธมิตรระดับประเทศ จัดงานเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “Decoding Japanese Marketing: The Secrets Behind 100 Years of Sustainable Success” ถอดรหัสการตลาดแบบญี่ปุ่น: ความลับเบื้องหลังความสำเร็จอย่างยั่งยืนตลอด 100 ปี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 ณ Chulalongkorn Business Cinema ชั้น 3 อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ โดยมี ผศ.ดร.ปณิธาน จันทองจีน ประธานหลักสูตร ZEN กล่าวรายงาน ผศ.ดร.พรพิชยา กุวลัยรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี กล่าวต้อนรับ
ในโอกาสนี้ Mr.Yusuke Miyabe, Chief Digital Officer / Managing Director of H+ THAILAND, Hakuhodo International Thailand ได้นำเสนอแนวคิด “Sei-Katsu-Sha Approach” ซึ่งเป็นหัวใจของการตลาดแบบญี่ปุ่นที่มองลูกค้าในฐานะมนุษย์ที่มีชีวิต ไม่ใช่แค่ผู้บริโภค พร้อมแบ่งปันประสบการณ์จริงจาก Hakuhodo International หนึ่งในบริษัทเอเจนซี่ระดับตำนานของญี่ปุ่นที่สามารถสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืนข้ามศตวรรษ
จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ “Decoding Japanese Marketing: The Secrets Behind 100 Years of Sustainable Success” โดย ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด ผศ.ดร.กฤตินี เพิ่มทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดญี่ปุ่น และอาจารย์พิเศษ ภาควิชาการตลาด และ Mr. Yusuke Miyabe, Chief Digital Officer / Managing Director of H+ THAILAND, Hakuhodo International Thailand ดำเนินการเสวนาโดย ผศ.ดร.ปณิธาน จันทองจีน ประธานหลักสูตร ZEN
การเสวนาวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเปิดมุมมองใหม่ในการเรียนรู้ศาสตร์การตลาดแบบญี่ปุ่นที่ยืนหยัดมากว่า 100 ปี เนื่องจากชาวญี่ปุ่นมีหลักการบริหารธุรกิจ การตลาด และปรัชญา ที่เน้นการสร้างความยั่งยืนอย่างถาวร รวมถึงการสร้างแบรนด์แบบญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของแนวทาง “ZEN Marketing” ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักการตลาดรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน การเสวนานี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการแนะนำหลักสูตรวุฒิบัตรจุฬาฯ “ZEN (Zoomed Experience for the Next): Marketing Legacy of the Rising Sun” ซึ่งออกแบบมาสำหรับเจ้าของกิจการและผู้บริหารระดับสูง โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการตลาดเชิงลึกผ่านแนวทางการคิดเชิงปรัชญาญี่ปุ่นผสานกับศาสตร์การตลาดยุคใหม่ เพื่อสร้างแบรนด์ให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า ในวันที่โลกธุรกิจหมุนเร็วเกินกว่าที่จะตั้งหลักได้ทัน ผู้ประกอบการไทยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กำลังเผชิญคำถามสำคัญว่า “จะดำเนินธุรกิจอย่างไรให้ยั่งยืน ในวันที่ต้นทุนสูงขึ้น คู่แข่งเพิ่มขึ้น และความแน่นอนกลับกลายเป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากที่สุด”
ผศ.ดร.เอกก์ได้นำเสนอแนวคิดใหม่ที่ย้อนกลับไปสู่รากของภูมิปัญญาตะวันออก โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งแม้จะไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจทางการตลาดแบบตะวันตก แต่กลับมีแบรนด์อันมั่นคงอยู่คู่โลกมานานนับศตวรรษ โดยมีปรัชญา ZEN เป็นเสมือนแก่นกลางของแนวคิดการดำเนินธุรกิจ
“แนวทางการตลาดแบบญี่ปุ่นในแนวทาง ZEN ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของยุทธศาสตร์หรือการวางแผนเท่านั้น แต่เป็นการเลือกใช้หัวใจในการสร้างธุรกิจ สร้างแบรนด์ และสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้คน ซึ่งเมื่อเราทำด้วยใจ เราไม่ได้แค่ได้เงิน แต่เราได้ใจ ได้มิตรภาพ และได้แฟนคลับที่ภักดี สำหรับธุรกิจ SMEs ไทยที่กำลังมองหาทางเลือกใหม่ท่ามกลางโลกที่ผันผวน แนวคิดนี้อาจไม่ใช่คำตอบที่เร็วที่สุด แต่เป็นคำตอบที่ลึกที่สุด และยั่งยืนที่สุด” ผศ.ดร.เอกก์ กล่าวทิ้งท้าย
หลักสูตร ZEN: Marketing Legacy of the Rising Sun เน้นการเรียนรู้การตลาดเพื่อความอย่างยั่งยืนแบบญี่ปุ่น มีจุดเด่นคือ:
ผู้สนใจหลักสูตร ZEN ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://zenmarketingcu.comFacebook : Zoomed Experience for the Next : ZENLine ID : coachthai01โทร. 06-2878-8101, 09-8018-0888หรือภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี โทร. 02 218 5794-5
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เชิญร่วมงาน President’s Distinguished Speaker ครั้งที่ 4 หัวข้อ From Turbulence to Triumph: การบินไทย จากฟื้นฟูสู่พุ่งทะยาน
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น.
Facebook Live
ผู้แทนจาก Ohio University สหรัฐอเมริกาหารือการขยายความร่วมมือกับจุฬาฯ
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. เปิดตัวนวัตกรรม “น้องเคยมาเท่าไหร่” และ “ตามสั่ง-ตามส่ง” พร้อมให้ใช้งานแล้วทั่วประเทศ
อันตราย! ระวังอย่าหลงเชื่ออีเมล “ปลอม”
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ เปิดต้นแบบระบบนิเวศวัฒนธรรมของการเป็นสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพในจังหวัดน่าน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้