รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จัดการเสวนาวิชาการ เรื่อง “การขนส่งและโลจิสติกส์ไทยในยุคสงครามการค้า” เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 ณ ห้อง 802 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานเปิดการเสวนา และ ศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ กล่าวรายงาน
จากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อโลจิสติกส์ไทยในยุคสงครามการค้า โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนและภาควิชาการร่วมเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร. สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ อาจารย์พิเศษหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และอดีตผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ คุณภคิน คัมภิรานนท์ ที่ปรึกษาอิสระด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนคุณบวรสินธุ์ ตันธุวนิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทโงวฮก จำกัด และกรรมการบริหารสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ คุณกัณณ์กรรัตน์ ไตรธนานุบาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซ โกลบอล เอ็กซ์เพรส จำกัด ดร.สุรัตน์ จันทองปาน รองนายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต (TLAPS) และที่ปรึกษาฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ดนุพล อริยสัจจากร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และกรรมการหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การเสวนาวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้าต่อระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทย ทั้งในระดับนโยบายและการดำเนินงานจริงของภาคธุรกิจ รวมถึงการสะท้อนมุมมองจากหลากหลายภาคส่วนเพื่อหาแนวทางในการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ท่ามกลางบริบทเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน พร้อมเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และเศรษฐกิจของไทยให้มีความแข็งแกร่ง ยั่งยืนและยืดหยุ่น พร้อมรับมือกับวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์สงครามการค้าโดยจะเจาะลึกผลกระทบนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาต่ออุสาหกรรมโลจิสติกส์และการค้าระหว่างประเทศของไทยเพื่อเปลี่ยนมุมมองเชิงกลยุทธ์ การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทย
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังกันระหว่างสถาบันการขนส่ง สถาบันเอเชียศึกษา และสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน การถอดรหัสความคิดจากวิทยากรในการเสวนาในครั้งนี้จะจุดประกายความคิดในการเปลี่ยนสงครามทางการค้าให้เป็นสันติภาพทางการค้า ปัจจุบันการขนส่งและโลจิสติกส์เป็นกลไกที่เชื่อมโยงสินค้าต้นทุนและโอกาสทางการค้าเข้าด้วยกันทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับชาติ และระดับสากล การสัมมนาครั้งนี้จะเป็นเสียงสะท้อนที่นำไปสู่แนวทางนโยบายการปฏิบัติในภาครัฐ รวมทั้งเป็นการต่อยอดตามพลังของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยความเชื่อมั่นว่าเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ที่การศึกษาเท่านั้น แต่รวมถึงการนำเสนอนโยบายและทิศทางอันเป็นประโยชน์ให้กับประเทศชาติ
ศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ กล่าวว่า สถานการณ์สงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจโลกที่กำลังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งในด้านนโยบายการค้าและมาตรการภาษีนำเข้าของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือความผันผวนที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการค้าโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจระบบเปิดซึ่งพึ่งพาการค้าในระดับนานาชาติค่อนข้างมากเมื่อปริมาณการค้าลดลง ผู้ประกอบการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดวิกฤตและสงครามทางการค้าจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนส่งโลจิสติกส์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางเรือ ทางรถบรรทุก ทางราง หรือทางอากาศ ถ้าเราสามารถคาดการณ์ในการประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม ผู้ประกอบการเหล่านี้จะสามารถปรับตัวและลดผลกระทบที่มีความรุนแรงให้ลดลงได้
ศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวเสริมอีกว่าบทบาทของภาครัฐซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยเหลือภาคธุรกิจให้สามารถประคองตัวผ่านช่วงวิกฤตได้ โดยเฉพาะการเจรจาการค้าเพื่อลดผลกระทบและช่วยพยุงสถานะของผู้ประกอบการเอกชน ภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลจากภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การเจรจาการค้าอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการขนส่งและโลจิสติกส์จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมโดยเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินกิจการของตนเอง พยายามปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น สามารถพยุงธุรกิจให้อยู่รอดได้ในวิกฤตการณ์การค้าที่เกิดขึ้นให้ได้นานที่สุด
“เสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการเรื่องผลกระทบและความห่วงกังวลจากสงครามการค้าจากการสัมมนาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลให้ภาครัฐนำไปกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการเจรจาการค้าที่เหมาะสม ซึ่งจะเกิดประโยชน์ไม่เพียงเฉพาะผู้ประกอบการ แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจไทยโดยรวม” ศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 65 เวลา 14.00 16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
เสวนา “eDNA กับความยั่งยืนของทรัพยากรทางน้ำของประเทศไทย” ภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาฯ
เชิญร่วมการสัมมนาเรื่อง “ฐานข้อมูลด้านแรงงาน: ที่มีอยู่ การนำไปใช้ และแนวทางต่อไป”
2 พ.ค. 68
Zoom Meeting
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้