รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 พฤษภาคม 2568
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สร้างผลงานวิจัยตามยุทธศาสตร์นำนวัตกรรมสื่อสร้างสังคมไร้ความรุนแรง ในโอกาสครบรอบ 60 ปี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ผลิตภาพยนตร์ผลงานจากการวิจัย “เรื่องของเรา” เล่าเรื่องความขัดแย้งชายแดนใต้ที่ก้าวพ้นตัวตน เสนอเรื่องราวคนในพื้นที่ที่ถูกบดบังจากความขัดแย้ง หนุนบทบาทการสร้างสันติภาพด้วยความรู้และนวัตกรรมทางสังคม
รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ตามแผนยุทธศาสตร์การวิจัยด้านสังคมไทยไร้ความรุนแรง เพื่อดำเนินการวิจัยสร้างองค์ความรู้และเสนอมุมมองที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้เพิ่มเติม ผลการวิจัยถือเป็นนวัตกรรมสื่อทางสังคม ที่พัฒนามาจากผลการวิจัยเป็นภาพยนตร์เล่าเรื่องความขัดแย้งจากมุมของผู้คนในพื้นที่ชายแดนใต้ สะท้อนปัญหาอื่น ๆ ในพื้นที่ที่ถูกบดบังจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตลอดมา เช่น การสูญเสียคนที่รักของครอบครัว การศึกษาของเด็ก ๆ ปัญหาการทำมาหากินที่ยากลำบาก ภาพยนตร์จากงานวิจัยครั้งนี้ชื่อ “เรื่องของเรา” ที่พร้อมเผยแพร่ให้ได้ชมบนช่องทางออนไลน์และยังสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในกระบวนการแปรเปลี่ยนสู่สันติภาพชายแดนใต้ ใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ได้
“ภาพยนตร์ ‘เรื่องของเรา’ เป็นองค์ความรู้ใหม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมไทย ถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ของพลังทางวิชาการสู่ภาพยนตร์ที่สามารถต่อยอดสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างเป็นรูปธรรม เป็นนวัตกรรมสื่อที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชมที่จะร่วมกันมองปัญหาความขัดแย้งแบบไม่แบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย กระตุ้นให้สังคมร่วมกันผลักดันให้เกิดการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นสันติภาพ” รศ.ดร.ปรีดา กล่าว
ผศ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวถึงงานวิจัยเพิ่มเติมว่า ภาพยนตร์ “เรื่องของเรา” เป็นผลผลิตจากงานวิจัยเรื่อง “การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้สู่สันติภาพด้วยกระบวนทัศน์การเล่าเรื่องที่ข้ามพ้นตัวตนผ่านภาพยนตร์สั้น” งานวิจัยมีแนวคิดหลักคือ การนำแนวคิดการเล่าเรื่องที่ข้ามพ้นตัวตน (Self-transcendental narrative) ซึ่งเป็นแนวคิดการเล่าเรื่องปัญหาความขัดแย้งในชายแดนใต้ โดยเน้นการสร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันในระดับพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คณะวิจัยลงพื้นที่เพื่อค้นหามุมมอง ความคิด ความเชื่อของคนในพื้นที่เกี่ยวกับความรุนแรงในพื้นที่ ด้วยการให้คนในพื้นที่เล่าเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรง ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และทำกิจกรรมการสะท้อนความคิด (Projective Technique) จากนั้นจึงนำผลการวิจัยมาสังเคราะห์ เป็นแก่นเรื่องที่เล่าเรื่องความรุนแรงในแบบข้ามพ้นตัวตน ให้แต่ละคนเล่าเหตุการณ์จากประสบการณ์ตนเอง แล้วถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เห็นเหตุการณ์จากมุมของคนหลากหลายที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นั้น พัฒนาสร้างสรรค์เป็นบทภาพยนตร์แนว Omnibus Film ที่รวบรวมเรื่องสั้น ๆ ที่แตกต่างกันไว้ในเรื่องเดียวกัน
“ภาพยนตร์มุ่งหวังจะสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสันติภาพ ในแนวทางที่ละทิ้งตัวตนของทุกฝ่ายและร่วมกันมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันคือสันติภาพ คณะวิจัยได้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ที่จะช่วยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ชวนให้ผู้ชมมองปัญหาในฐานะผู้มีส่วนร่วม พร้อมรับฟัง แก้ไขและร่วมกันสร้างสันติภาพอย่างแท้จริง” ผศ.ดร.ธีรดา กล่าวทิ้งท้าย
เชิญรับชมภาพยนตร์ “เรื่องของเรา” ได้ที่ https://youtube.com/@chulauniversity
ผู้สนใจสามารถติดต่อขอนำภาพยนตร์ไปจัดฉายในกิจกรรมด้านการเรียนรู้ การศึกษา หรือเป็นสื่อสำหรับกระบวนการ แก้ปัญหาความขัดแย้งในชายแดนใต้
สามารถติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/commartschulaofficial หรือ โทร.0-2218-2205
BBA จุฬาฯ ตอกย้ำแชมป์ที่หนึ่งการแข่งขันแผนธุรกิจ
กสิกรไทย ร่วมกับจุฬาฯ ประกาศผลรางวัลผู้ชนะเลิศโครงการ CU NEX Hackathon ใช้ AI พัฒนาฟีเจอร์บนแอป CU NEX
จุฬาฯ ร่วมมือช่อง 7HD ขับเคลื่อนความรู้สู่สังคม เปิดตัวรายการ “THE CRACK HUNTER หน่วยล่ารอยร้าว” ต่อยอดการสื่อสารความปลอดภัยหลังแผ่นดินไหว
อธิการบดีจุฬาฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” และให้กำลังใจนักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ
อธิการบดีจุฬาฯ ให้กำลังใจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจุฬาฯ ที่ร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิตโครงการ “70 พรรษา 70 ล้านซีซี” เฉลิมพระเกียรติ
ขอเชิญผู้สนใจเข้าฟังการบรรยาย “ไฟดับครั้งใหญ่ในยุโรป: บทเรียนจากสเปน–โปรตุเกส 2025 และแนวทางรับมือและออกแบบระบบพลังงานอย่างสมดุล”
8 พ.ค 2568 เวลา 13.30-15.30 น.
TRUE LAB ชั้น 1 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้