ข่าวสารจุฬาฯ

เสวนากลุ่ม 9 สถาบันวิจัยฯ “Zero Carbon Journey: ความท้าทายของอุตสาหกรรมไทยในบริบทโลกไร้คาร์บอน”

             สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ จัดเสวนากลุ่ม 9 สถาบันวิจัยฯ ภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ Zero Carbon Journey: ความท้าทายของอุตสาหกรรมไทยในบริบทโลกไร้คาร์บอน” เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 ณ ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ (Chula Social Innovation Hub) อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เพื่อสะท้อนบทบาทของจุฬาฯ ในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ผ่านการเสวนาทางวิชาการที่สามารถต่อยอดสู่การขับเคลื่อนนโยบายในระดับประเทศ  โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และ ศ.ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน  จากนั้นเป็นการเสวนาโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อต่าง ๆ

              การเสวนา “Zero Carbon Journey” เป็นการจุดประกายให้สังคมไทยตระหนักถึงความเร่งด่วนของการลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นตอหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และร่วมกันออกแบบวิธีการที่เป็นไปได้จริง ทั้งในด้านนโยบาย เทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวได้ในบริบทเศรษฐกิจโลกที่กำลังเคลื่อนไปสู่ Net Zero โครงการนี้เป็นอีกก้าวสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการใช้พลังขององค์ความรู้ สร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย

              ศ.ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ กล่าวว่า การเสวนากลุ่ม 9 สถาบันวิจัยฯ ในครั้งนี้เป็นการจัดเสวนาครั้งที่ 5 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน เป็นเวทีวิชาการที่เชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนมุมมอง องค์ความรู้ และประสบการณ์แก่ผู้เข้าร่วมงานที่มาจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อม ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และประชาชนที่สนใจ การเสวนามุ่งเน้นความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญความเสี่ยงสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ  ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายในการลดคาร์บอนเครดิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคสังคมอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และ และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608  ซึ่งภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัวครั้งสำคัญทั้งในด้านพลังงานสะอาด การจัดการคาร์บอนฟุตพรินท์  รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมสีเขียวเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกมากขึ้น

              ทั้งนี้ สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ ได้ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนกลุ่มวิจัยความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศและการรู้รับปรับฟื้น (Climate Risk and Resilience Research Cluster: CRR-RC) และหน่วยบริการและจัดการคาร์บอน (Carbon Management Services Unit: CMS) ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยด้านวิชาการและงานบริการที่เอื้อให้องค์กรสามารถระบุและลกความเสี่ยงที่อาจเกิดชึ้นจากสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มความสามารถในการรับมือกับกรเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า