รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 พฤษภาคม 2568
ข่าวเด่น
ผศ.ดร.รักชนก คชานุบาล คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมด้วย ศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค นำคณะนักวิจัยเก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดน่านเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2568 ณ กำแพงเมืองน่าน วัดมงคล พร้อมด้วย รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ อ.ดร.นพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย วิทยาลัยประชากรศาสตร์ และนายกิตติศักดิ์ เรืองมั่น นักวิจัยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งระบบนิเวศวัฒนธรรมจังหวัดน่านรองรับสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน การสร้างโอกาสให้ผู้สูงอายุสามารถมีส่วนร่วมทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูงอายุลดภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม และเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เมื่อผู้สูงอายุมีส่วนร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องจะส่งผลเชิงบวกต่อสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุทั้งร่างกายและจิตใจ การสร้างต้นแบบครั้งนี้มีวัฒนธรรมด้านอาหารเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงนำผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกัน มีการเสวนากลุ่มเกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมการฟ้อน และวัฒนธรรมอาหารที่ส่งผลกับสุขภาพ
ผักที่หาสะดวกและขึ้นริมรั้วบ้าน ล้วนมีสรรพคุณทางยา เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการอธิบายโดยเจ้าญาณ สองเมืองแก่น ปราชญ์จังหวัดน่าน รางวัลครูศิลป์ของแผ่นดิน พ.ศ. 2558 โดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) สมุนไพรที่นำมาปรุงอาหารโดยเฉพาะ “แกงแค” เป็นอาหารพื้นเมืองน่านที่มีคุณค่า มีสรรพคุณทางอาหารและยาส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดี ใบแค (ภาคกลางเรียกว่าชะพลู) เป็นวัตถุดิบหลัก
แกงแคเป็นอาหารที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพชน ได้ถ่ายทอดความสำคัญของแกงแคจากการได้ใช้ชีวิตและได้ซึมซับจากคุณทวด คุณตา คุณยาย ญาติผู้ใหญ่ทั้งหลายเล่าว่า แกงแคเป็นอาหาร 1 ใน 4 ตั้งสำรับต้อนรับอาคันตุกะของเจ้าผู้ครองนครน่าน (แกงแค แกงสะนัด น้ำพริก ลาบ) ต่อมาเป็นอาหารรับประทานกันเองทั่วไป ทำรับประทานกันที่บ้านตามสะดวก เก็บผักหาง่าย ริมรั้วในบ้าน แม้แต่ยอดมะเขือเทศก็ใส่ได้ แกงแคประกอบไปด้วย ส่วนผสมน้ำพริก เนื้อสัตว์ และผักสดที่นำมาปรุงด้วยกัน เครื่องปรุงพื้นถิ่นที่ให้รสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของแกงแค คือ มะแขว่น เถาวัลย์ชะคร้าน และดอกข่า ทำให้ได้กลิ่นหอม ถึงแม้มีรสชาติเผ็ดร้อนแต่ก็ให้รสชาติละมุน
อ.ศรีสวัสดิ์ แพทย์สมาน ประธานกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองน่าน กล่าวว่า สมาชิกของเทศบาลสตรีเมืองน่านมีความสุขในการร่วมกิจกรรมที่หลากหลายของกลุ่มสตรีผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมปรุงอาหารรับประทานร่วมกันทั้งที่จัดโดยโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมทั้งกิจกรรมของคณะผู้วิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากกิจกรรมด้านการทำอาหาร กลุ่มสตรีผู้สูงอายุมีการฟ้อนล่องน่านเพื่อออกกำลังกาย การเสวนา ส่งผลให้สตรีผู้สูงอายุมีร่างกายที่แข็งแรง จิตใจเบิกบาน ทำให้มีความสุข ได้เข้าสังคม และเรียนรู้ประโยชน์ของสารอาหารและสรรพคุณของเครื่องปรุงในอาหารชนิดต่าง ๆ
การลงพื้นที่ในครั้งที่ 2 เป็นการสำรวจข้อมูลของกลุ่มสตรีผู้สูงอายุเทศบาลเมืองน่านที่มีสมาชิกมากกว่า 200 คนการทำกิจกรรมครั้งนี้ วิทยาลัยประชากรศาสตร์และคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้สำรวจข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และได้เชิญชวนสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อร่วมกันทำความเข้าใจบริบทพื้นที่ของผู้สูงอายุ สำรวจช่องว่างระหว่างวัย การสร้างรายได้ของผู้สูงอายุ การใช้เวลาของผู้สูงวัยในสังคม การดูแลครอบครัว และประสบการณ์ในครอบครัวของผู้สูงวัย จากบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน การลงพื้นที่ในครั้งนี้ทำให้โครงการสามารถสร้างความร่วมมือกับกลุ่มสตรีผู้สูงอายุในจังหวัดน่าน เสริมสร้างความเข้มแข็งทางบริบทวัฒนธรรมในการสื่อสารระหว่างวัย และการสื่อสารข้อมูลให้กับผู้สูงวัยเกี่ยวกับข้อมูลเรื่องอาหารและประโยชน์ของอาหารพื้นเมือง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางระบบนิเวศวัฒนธรรมจังหวัดน่าน
คณะศิลปกรรมศาสตร์ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จะเผยแพร่องค์ความการบูรณาศาสตร์ร่วมกันผ่าน จุลสาร“กิ๋น ฮอม ตอม ม่วน” ที่พัฒนาร่วมกันระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปราชญ์จังหวัดน่าน และกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดน่าน โดยจะออกวารสารฉบับแรกเรื่อง “แกงแค: วัฒนธรรมอาหารสร้างสรรค์” ที่เน้นศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่นกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในบริบทสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน
อันตราย! ระวังอย่าหลงเชื่ออีเมล “ปลอม”
สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ จัดอบรมยกระดับคุณภาพวารสารจุฬาฯ สู่ฐานข้อมูล Scopus
เสวนากลุ่ม 9 สถาบันวิจัยฯ “Zero Carbon Journey: ความท้าทายของอุตสาหกรรมไทยในบริบทโลกไร้คาร์บอน”
นิสิตเก่าศศินทร์ จุฬาฯ ก่อตั้งโครงการ SEA Bridge NextGen สร้างผู้นำรุ่นใหม่อาเซียน ตั้งเป้าผลิต Future Talents 20,000 คนต่อปี
การประชุมวิชาการโลกมุสลิม ประจำปี 2568 “BRICS โอกาสและความท้าทายต่อโลกมุสลิมและประเทศไทยภายใต้ระเบียบโลกที่เปลี่ยนไป”
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 08.00 - 16.30 น.
การประชุมนักวิชาชีพสื่อ New.Now.Next Media Conference (N3Con) ครั้งที่ 15
29 - 31 พ.ค. 68
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้