ข่าวสารจุฬาฯ

รมว.ศึกษาธิการเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ ICESML 2025 ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กำหนดภาวะผู้นำแห่งอนาคตและปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารระบบการศึกษา

          คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 4th International Conference on Educational System Management Leadership (ICESML 2025) “หัวข้อ Shaping the Future Leadership and AI in Educational System Management” การกำหนดภาวะผู้นำแห่งอนาคตและปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารระบบการศึกษา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุมดวงเดือน พิศาลบุตร คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ รศ.ดร.ยศวี สายฟ้า คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงาน

          พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัจจุบันการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ การประชุมนานาชาติครั้งนี้นับเป็นเวทีที่ทรงคุณค่า เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ และนำไปสู่การกำหนดภาวะผู้นำแห่งอนาคตได้ การประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในอนาคตที่ดียิ่งขึ้น เป็นแนวทางสอดรับกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย “เรียนดี มีความสุข” เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นำ AI มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน และนำมาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พัฒนาผู้บริหาร ครู ให้มีองค์ความรู้ทางด้านการบริหารการศึกษา เป็นผู้นำแห่งอนาคตที่มีความฉลาดรู้ ฉลาดคิด และฉลาดทำ

          การประชุมนานาชาติ The International Conference on Educational System Management Leadership (ICESML) จัดโดยสาขาวิชาภาวะผู้นำการบริหารระบบการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่ปี 2565 โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักการศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ นิสิต และผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นการสร้างความเข้าใจในแนวคิดการบริหารการศึกษา การกำหนดนโยบายในปัจจุบันและอนาคต เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือและการขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้านการบริหารการศึกษาในอนาคตต่อไป

          จากความสำเร็จของการจัดประชุมวิชาการนานาชาติที่ผ่านมาได้รับการตอบรับและความสนใจอย่างต่อเนื่องจากนิสิต นักวิจัย และผู้สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี 2568 จึงได้จัดการประชุมครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2568  ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 300 คนจาก 22 ประเทศทั่วโลก

          ภายในงานมีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Collaborative Design for AI and Education: shaping a future of participation, equity, and inclusion education” (การออกแบบร่วมกันระหว่างปัญญาประดิษฐ์ และการศึกษา: การกำหนดอนาคตแห่งการมีส่วนร่วม ความเสมอภาค และการศึกษาแบบถ้วนหน้า) โดย Assoc. Prof. Jeremy Knox, Ph.D. จาก University of Oxford หัวข้อ “AI Literacy and Policy in Education” (ความฉลาดรู้ปัญญาประดิษฐ์และนโยบายในการศึกษา)  โดย Prof. Cecilia K. Y. Chan จาก The University of Hong Kong และการนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบ Oral Presentations และ Poster Presentations จำนวน 32 ผลงาน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า