รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการรับรองด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO 56002:2019 จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (Management System Certification Institute – MASCI) ซึ่งเป็นผลจากการประเมินระบบการจัดการนวัตกรรมของสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn School of Integrated Innovation: ScII) นับเป็นหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยและน่าจะเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว
มาตรฐาน ISO 56002: 2019 จัดตั้งขึ้นโดยองค์การ ISO (the International Organization for Standardization) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 เพื่อสนับสนุนให้มีมาตรฐานการจัดการระบบนวัตกรรมและเป็นการส่งเสริมให้มีการปรับปรุงระบบการจัดการนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ศ.ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาฯ (ScII) มีฐานะเทียบเท่ากับคณะในจุฬาฯ และถือเป็น “เรือด่วน” (speed boat) ที่มีความคล่องตัวและว่องไวในการตอบสนองต่อความต้องการใหม่ของโลกแห่งอนาคต สถาบัน ScII จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ หลักสูตรนานาชาติ (Bachelor of Arts and Science in Integrated Innovation: BAScii) มีมาตรฐานการเรียนการสอนในระดับนานาชาติ อาจารย์ผู้สอน 70% เป็นอาจารย์ต่างประเทศ นิสิตที่รับเข้าศึกษาปีละ 100 คน ตั้งเป้าว่าจะเป็นนิสิตต่างชาติ 30% ที่ผ่านมาได้เปิดรับนิสิตมาแล้ว 3 รุ่น แต่ละปีมีผู้ให้ความสนใจสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรเป็นจำนวนมาก โดยนิสิตทุกคนจะต้องสร้างสรรค์โครงงานทางด้านนวัตกรรม
ศ.ดร.วรศักดิ์กล่าวว่า การจัดการระบบนวัตกรรมของสถาบัน ScII ได้วางกลยุทธ์ 5 ประการ ประกอบด้วย การสร้างนวัตกรรมที่พร้อมตอบสนองความต้องการของตลาด การเน้นหลักสูตรวิทยาการข้ามศาสตร์ (Transdisciplinary Curriculum) โดยมีสองแกนหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีดิจิทัล และวิทยาการผู้ประกอบการ การเตรียมความพร้อมให้แก่นิสิต ด้วยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การเน้นย้ำวัฒนธรรมความเป็นสากลและการเป็นพลเมืองโลก และการสร้างระบบนิเวศแบบเปิดสำหรับร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม สถาบัน ScII ได้ยื่นสมัครขอใบรับรอง ISO 56002: 2019 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ด้วยการทำงานอย่างทุ่มเทเป็นเวลากว่าหนึ่งปี จนมั่นใจว่าสถาบันฯ มีระบบการจัดการ กระบวนการ และนโยบายที่มีมาตรฐานตาม ISO 56002:2019
สถาบัน ScII ได้ผ่านการตรวจประเมินขั้นสุดท้ายจากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอประเทศไทย (MASCI) เมื่อวันที่ 29 – 30 กันยายน 2564 โดย MASCI ได้แจ้งผลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 โดยระบุจุดเด่น 4 ประการของสถาบันฯ จากการประเมิน ได้แก่ 1.การเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการสร้างหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล และการเป็นผู้ประกอบการ 2.ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นต่อระบบการจัดการนวัตกรรม ทั้งด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรมของการก่อตั้งสถาบันฯ 3.มีพันธมิตรทั้งในภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยในการผลักดันการคิดค้นและริเริ่มผลงานด้านนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี 4.กระบวนการทางนวัตกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ สร้างแนวคิด และการลงพื้นที่สำรวจต่อกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ผลของการสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม ลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยง ซึ่งเป็นจุดดีของกระบวนการทางนวัตกรรม
“การที่ระบบการบริหารจัดการนวัตกรรมของสถาบัน ScII ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 56002–2019 บ่งชี้ว่าสถาบันฯ มีระบบการบริหารนวัตกรรมที่มีคุณภาพในระดับสากล ซึ่งจะทำให้สถาบันฯ รักษาความสม่ำเสมอทางด้านคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักเรียน รวมถึงผู้ประกอบการภาคธุรกิจที่นำนวัตกรรมจากนิสิตไปใช้จริง สอดคล้องกับปณิธานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการสร้างสรรค์ “นวัตกรรมเพื่อสังคม” (Innovations for Society)” ศ.ดร.วรศักดิ์ กล่าวในที่สุด
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปในพิธีต้อนรับเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” เยือนประเทศไทย ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้