รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น
ศ.น.สพ.ดร.อลงกร อมรศิลป์ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางในโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัยการติดเชื้อโควิด-19 ในสัตว์เลี้ยง ชี้แจงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวให้ข้อมูลรายงานการพบเชื้อ SARS-CoV-2 ในสัตว์เลี้ยง ในวารสารนานาชาติ Transboundary and Emerging Disease เรื่อง “First cases of SARS-CoV-2 infection in dogs and cats in Thailand” ของโครงการวิจัยฯ เพื่อสร้างความใจที่ถูกต้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
– งานวิจัยการพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในสัตว์
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีโครงการวิจัยเพื่อศึกษาการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะในสุนัขและแมว ตั้งแต่ต้นปี 2564 โดยมีการเฝ้าระวังโรคและเก็บตัวอย่างจากสัตว์เลี้ยงในสถานพยาบาลสัตว์ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงในบ้านผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้ตรวจพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในสุนัขและแมว จากตัวอย่างสุนัขจำนวน 3 ตัวและแมว 1 ตัว ด้วยวิธี Realtime RT-PCR และได้ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวของเชื้อไวรัส พบว่าเป็นเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ alpha (B.1.1.7) ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดการระบาดของโควิด-19 ในช่วงเวลานั้น (เมษายน-พฤษภาคม 2564)
– ทำไมสุนัขและแมวจึงติดเชื้อโควิด-19 ได้
ก่อนหน้านี้มีการรายงานการติดเชื้อในสุนัขและแมวในต่างประเทศเป็นระยะ แต่ถือว่าพบได้น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการที่สัตว์เลี้ยงสัมผัสใกล้ชิดกับเจ้าของที่ติดเชื้อ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเป็นการแพร่เชื้อจากมนุษย์สู่สัตว์เลี้ยง
– สัตว์เลี้ยงจะได้รับอันตรายจากการติดเชื้อมากน้อยเพียงใด
สัตว์เลี้ยงที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ มักไม่แสดงอาการ จากการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง พบว่ามีเพียง 1 ตัวจากทั้งหมด 4 ตัวที่ติดเชื้อ ซึ่งมีอาการคือน้ำมูกเพียงเล็กน้อย
– โอกาสที่สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อจะนำเชื้อกลับมาแพร่สู่คน
ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าพบการแพร่เชื้อจากสัตว์เลี้ยงกลับสู่คน (แต่พบการรายงานในสัตว์ชนิดอื่น เช่น มิ้งค์ ในทวีปยุโรป) ทั้งนี้ ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังและศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
– การดูแลรักษาสุนัขและแมวที่ติดเชื้อโควิด-19
สามารถดูแลได้ตามปกติ แต่ควรมีการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยและถุงมือ เช่นเดียวกับข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ทั่วไป เลี้ยงแบบแยกบริเวณและทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงและกรงสัตว์เลี้ยงให้สะอาดอยู่เสมอ ห้ามนำสุนัขและแมวนั้นไปกำจัดหรือปล่อยทิ้งโดยเด็ดขาด หากไม่สามารถดูแลได้ ควรให้ผู้อื่นดูแลแทน
– สัตวแพทย์มีบทบาทในการศึกษาและป้องกันการเกิดโรคจากสัตว์สู่คนอย่างไร
สัตว์แพทย์มีหน้าที่สำคัญในการเฝ้าระวังโรคที่มาจากสัตว์ ก่อนที่จะเข้าสูร่างกายมนุษย์ และมีหน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคที่อุบัติมาจากสัตว์ เช่น โรคโควิด-19 นี้ ตามแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health หมายถึงสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน
– หากสงสัยว่าสุนัขและแมวที่เลี้ยงติดเชื้อ SARS-CoV-2 หรือโรคโควิด-19 ต้องทำอย่างไร
สำหรับเจ้าของสุนัขและแมวที่มีความกังวลว่าสุนัขและแมวจะติดเชื้อ SARS-CoV-2 หรือโรคโควิด-19 สามารถนำสัตว์เลี้ยงของท่านมาทำการตรวจวินิจฉัยโรคได้ โดยติดต่อนัดหมายและสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-9576
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/ToAri4Ac0OQ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 68 เวลา 14.00 -16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้