รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 กรกฎาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง แต่การปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ที่ผ่านมายังมีผู้ที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโควิด-19 ในหลายเรื่อง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์ปฏิบัติการโควิด-19 จึงได้รวบรวมคำถาม-คำตอบ “เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโควิด-19” เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชาวจุฬาฯ ดังนี้
– ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยแล้ว?
ยังคงใส่หน้ากากอนามัย ยกเว้นอยู่ตามลำพัง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้งที่เว้นระยะห่างจากผู้อื่นมาก”
– ไม่จำเป็นต้องเว้นระยะห่างแล้ว?
แนะนำให้ยังรักษาระยะห่าง เนื่องจากการติดเชื้อยังเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ใกล้ชิดกัน
– ต้องตรวจ ATK เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่เดินทางไปเรียน หรือทำงาน
ไม่จำเป็น หากไม่มีไข้ เจ็บคอ หรืออยู่ในกลุ่มของคนที่มีความเสี่ยง
– จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 หรือไม่?
การต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 หรือไม่นั้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์
– ถ้าติดโควิด-19 แล้ว ไม่จำเป็นต้องรับวัคซีนแล้ว?
– “ไม่จริง” ผู้ที่ติดเชื้อแล้วยังสามารถกลับมาติดได้อีก ควรเข้ารับวัคซีนหลังจากที่หายจากการติดเชื้อแล้ว 3 – 6 เดือน
– หากมีคนติดโควิด-19 ในออฟฟิศ หรือห้องเรียน ต้องทำอย่างไร?
มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. ให้ผู้ติดเชื้อแยกตัวออกจากพื้นที่
2. แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทำความสะอาดพื้นที่
3. ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวให้เฝ้าระวังอาการของตนเอง
4. ดำเนินการเรียนการสอนและการทำงานได้เป็นปกติ
– เมื่อมีเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมชั้นติดโควิด-19 ผู้ที่ใกล้ชิดจำเป็นต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน?
ไม่จำเป็นต้องกักตัว แต่ให้เฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
– เมื่อติดโควิดแล้วควรทำอย่างไร?
ดำเนินการตามแนวปฏิบัติของจุฬาฯ
– เมื่อติดโควิดแล้วเริ่มนับการกักตัว 7 วันเมื่อใด?
เริ่มนับจากวันแรกที่ตรวจพบ
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปในพิธีต้อนรับเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” เยือนประเทศไทย ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้