คณะแพทยศาสตร์

Faculty of Medicine

สถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรมและมาตรฐานระดับนานาชาติ สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า และให้บริการทางการแพทย์และวิชาการตอบแทนสังคม

คณะแพทยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์

Faculty of Medicine

สถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรมและมาตรฐานระดับนานาชาติ สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า และให้บริการทางการแพทย์และวิชาการตอบแทนสังคม

รู้จักคณะ

แหล่งผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทาง มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาซึ่งสังกัดภาควิชาต่าง ๆ อาทิ ภาควิชาชีวเคมี พยาธิวิทยา สรีรวิทยา วิสัญญีวิทยา จักษุวิทยา ศัลยศาสตร์ ฯลฯ  รวมทั้งเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ Clinical Sciences และ Medical Sciences ในระดับบัณฑิตศึกษาด้วย

การศึกษาและหลักสูตร

ภาควิชาของคณะแพทยศาสตร์(Faculty of Medicine)

คณะแพทยศาสตร์ประกอบด้วย 21 ภาควิชา ได้แก่

  1. กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)
  2. จิตเวชศาสตร์ (Psychiatry)
  3. จุลชีววิทยา (Microbiology)
  4. นิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine)
  5. ปรสิตวิทยา (Parasitology)
  6. พยาธิวิทยา (Pathology)
  7. เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม (Preventive and Social Medicine)
  8. สรีรวิทยา (Physiology)
  9. กุมารเวชศาสตร์ (Pediatrics)
  10. จักษุวิทยา (Ophthalmology)
  11. ชีวเคมี (Biochemistry)
  12. เภสัชวิทยา (Pharmacology)
  13. รังสีวิทยา (Radiology)
  14. วิสัญญีวิทยา (Anesthesiology)
  15. เวชศาสตร์ชันสูตร(Laboratory Medicine)
  16. ศัลยศาสตร์ (Surgery)
  17. ออร์โธปิดิกส์ Orthopedics)
  18. เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Medicine)
  19. สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา (Obstetrics and Gynecology)
  20. โสต ศอ นาสิกวิทยา (Otolaryngology)
  21. อายุรศาสตร์ (Medicine)

หลักสูตรปริญญาตรี ที่รับผิดชอบโดยคณะ

แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) Doctor of Medicine (M.D.) หลักสูตร 6 ปี

หลักสูตรปริญญาโท ที่รับผิดชอบโดยคณะ

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) Master of Science (M.Sc.) 10 สาขาวิชา ได้แก่

  1. สุขภาพจิต (Mental Health)
  2. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์ (Medical Parasitology)
  3. การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ (Health Research and Management)
  4. ชีวเคมีทางการแพทย์ (Medical Biochemistry)
  5. ฉายาเวชศาสตร์ (Medical Imaging)
  6. อายุรศาสตร์ (Medicine)
  7. วิทยาศาสตร์การแพทย์* (Medical Sciences)
  8. การพัฒนาสุขภาพ (นานาชาติ) (Health Development) **
  9. เวชศาสตร์การกีฬา *** (Sports Medicine)
  10. วิทยาศาสตร์การแพทย์ (นานาชาติ) ***** (Medical Sciences)

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ที่รับผิดชอบโดยคณะ

ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ป.บัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก) Higher Graduate Diploma of Clinical Sciences (Higher.Grad.Dip.of Clin. Sc.) 29 สาขาวิชา ได้แก่

  1. จิตเวชศาสตร์ (Psychiatry) (2552)
  2. จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (2545) (Child and Adolescent Psychiatry)
  3. จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นขั้นสูง (2554) (Advanced Child and Adolescent Psychiatry)
  4. นิติเวชศาสตร์ (2555) (Forensic Medicine)
  5. พยาธิวิทยา (2552) (Pathology)
  6. กุมารเวชศาสตร์ (Pediatrics) (2555)
  7. จักษุวิทยา (Ophthalmology) (2552)
  8. รังสีวิทยา (Radiology) (2552)
  9. วิสัญญีวิทยา (Anesthesiology) (2552)
  10. พยาธิวิทยาคลินิก (Clinical Pathology) (2552)
  11. ศัลยศาสตร์ทั่วไป (General Surgery) (2547)
  12. ศัลยศาสตร์ทั่วไป (General Surgery) (2553)
  13. ศัลยศาสตร์ (Surgery) (2553)
  14. ประสาทศัลยศาสตร์ (Neurological Surgery) (2552)
  15. ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา (Urologic Surgery) (2552)
  16. ศัลยศาสตร์ตกแต่ง (Plastic Surgery) (2552)
  17. ศัลยศาสตร์ทรวงอก (Cardiothoracic Surgery) (2553)
  18. กุมารศัลยศาสตร์ (Pediatric Surgery) (2552)
  19. ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal Surgery) (2552)
  20. ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics) (2552)
  21. เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Medicine) (2552)
  22. สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา (Obstetrics and Gynecology) (2552)
  23. โสต ศอ นาสิกวิทยา (2552) (Otolaryngology)
  24. อายุรศาสตร์ทั่วไป (2545) (General Medicine)
  25. อายุรศาสตร์ (2552) (Internal Medicine)
  26. ตจวิทยา (Dermatology) (2556)
  27. เวชศาสตร์ครอบครัว**** (2556) (Family Medicine)
  28. โรคลมชัก******* (Epilepsy) (2553)
  29. ฟิสิกส์การแพทย์ (2554) (Medical Physics)

หลักสูตรปริญญาเอก ที่รับผิดชอบโดยคณะ

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.) 7 สาขาวิชา ได้แก่

  1. เวชศาสตร์ชุมชน (Community Medicine)
  2. การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ (Health Research and Management)
  3. ชีวเคมีทางการแพทย์ (Medical Biochemistry)
  4. อายุรศาสตร์ (Medicine)
  5. วิทยาศาสตร์การแพทย์****** (Medical Sciences)
  6. วิทยาศาสตร์การแพทย์ (นานาชาติ)***** (Medical Sciences)
  7. ชีวเวชศาสตร์และชีวเทคโนโลยี (นานาชาติ) ******** (Biomedical Sciences and Biotechnology)

หมายเหตุ

  • * สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีภาควิชาที่รับผิดชอบ 8 ภาควิชา คือ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีวเคมี พยาธิวิทยา เภสัชวิทยา ปรสิตวิทยา สรีรวิทยา และอายุรศาสตร์
  • ** สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพ (นานาชาติ) ไม่สังกัดภาควิชาใดภาควิชาหนึ่ง แต่อยู่ในความรับผิดชอบของ 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาสรีรวิทยา ชีวเคมี ออร์โธปิดิกส์ฯ และอายุรศาสตร์ และขอความร่วมมือกับ หน่วยงานในจุฬาฯ 2 หน่วยงาน คือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาลัยการสาธารณสุข
  • *** สาขาวิชาเวชศาสตร์การกีฬา มีภาควิชาที่รับผิดชอบ 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาสรีรวิทยา ชีวเคมี ออร์โธปิดิกส์ฯ และอายุรศาสตร์
  • **** สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว มีภาควิชาที่รับผิดชอบ 8 ภาควิชา คือ ภาควิชาอายุรศาสตร์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสีวิทยา จิตเวชศาสตร์ โสต-นาสิก-ลาริงซ์วิทยา เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม จักษุวิทยา และวิสัญญีวิทยา
  • ***** สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) มีภาควิชาที่รับผิดชอบ 6 ภาควิชา คือ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ชีวเคมี สรีรวิทยา ปรสิตวิทยา เภสัชวิทยา และพยาธิวิทยา
  • ****** สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปริญญาเอก มีภาควิชาที่รับผิดชอบ 6 ภาควิชา คือ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ชีวเคมี สรีรวิทยา ปรสิตวิทยา เภสัชวิทยา และพยาธิวิทยา
  • ******* สาขาวิชาโรคลมชัก ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง มีหน่วยงานรับผิดชอบ คือ ภาควิชาอายุรศาสตร์ รังสีวิทยา จิตเวชศาสตร์ และศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • ******** สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ) มีหน่วยงานรับผิดชอบ 6 ภาควิชา คือ กายวิภาคศาสตร์ ชีวเคมี สรีรวิทยา ปรสิตวิทยา เภสัชวิทยา และจุลชีววิทยาเป็นหลักสูตรร่วมระหว่างคณะแพทยศาสตร์ และ School of Biological Sciences, University of Liverpool ประเทศอังกฤษ

ติดต่อคณะ

คณะแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
1873 ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์
0 2256 4000
0 2256 4183
0 2256 4462

โทรสาร
0 2252 4963

เว็บไซต์
www.md.chula.ac.th

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า