รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
17 กรกฎาคม 2566
ไทยรัฐ
จากการเสวนา “ร่วมสร้างสังคมไทยปลอดภัยจากความรุนแรง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงในสังคมไทยว่า จากรายงานดัชนีความสงบสุขโลก ปี 2562 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 117 จาก 163 ประเทศ จากการที่คณะเริ่มทำวิจัย “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” ทำให้ในปี 2565 ทำให้ความรุนแรงในสังคมไทยลดลงมาอยู่ที่อันดับ 103 ของโลก ส่วนความรุนแรงในครอบครัวจากสถิติเมื่อปี 2559 ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีปัญหาเกี่ยวกับเด็กที่ถูกใช้ความรุนแรงที่ติดอันดับโลกอีกด้วย สาเหตุการใช้ความรุนแรงส่วนหนึ่งมาจากปัญหาสุรา ยาเสพติดซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงในสังคมได้สูงขึ้น
รศ.ดร.สุมนทิพย์ กล่าวว่าความรุนแรงในสังคมไทยเป็นภัยเงียบที่ไม่อาจมองข้ามได้ คนไทยติดสุราอันดับ 40 ของโลกซึ่งนำไปสู่การใช้อาวุธก่อความรุนแรงเช่นกัน ดังนั้นความรุนแรงในสังคมไทยในสถานการณ์โลกจึงตกอยู่ในสภาวะวิกฤติ ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง จากงานวิจัย “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” ที่ดำเนินการวิจัยมาตั้งแต่ปี 2562 – 2565 ในปีแรกเป็นการถอดข้อมูลความรุนแรง สรุปเป็น 3 ระดับคือ ความรุนแรงต่อตนเอง ความรุนแรงต่อบุคคล และความรุนแรงระหว่างกลุ่ม งานวิจัยปี 2 เป็นการสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหาแต่ละระดับ การแก้ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย รัฐบาลต้องกำหนดให้เป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ลดการทำร้ายสตรีและเด็ก แก้ปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดที่หาได้ง่าย
รศ.ดร.สุมนทิพย์กล่าวย้ำว่าความรุนแรงในครอบครัวไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของใครเพราะเป็นการทำร้ายร่างกาย จิตใจ และบังคับข่มเหงบุคคลอื่น ผู้ละเมิดย่อมทำผิดกฎหมาย หากประชาชนพบเห็นเหตุการณ์ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อที่จะเข้าไปช่วยเหลือเหยื่อได้ทันที
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้