จุฬาฯ ในสื่อ

สัมภาษณ์พิเศษ: ‘Deep Tech Startups’ จุดเปลี่ยนธุรกิจ ไทยเป็นเจ้านวัตกรรม

การลงทุนใน Deep Technology หรือเทคโนโลยีขั้นสูง คือผลผลิตที่ได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ที่ลอกเลียนแบบได้ยาก เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครอง เนื่องจากผ่านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์มายาวนาน ในขณะที่การลงทุนใน Deep Tech ของประเทศไทยมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา (ปี 2016 – 2020)

รศ.ภญ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล รองคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะประธานชมรม Club Chula Spin-off เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ มุ่งสร้างสรรค์ความรู้และผลผลิตจากการศึกษาวิจัย รวมถึงการสร้างบัณฑิตที่เป็นนวัตกร การเปิด Club Chula Spin-off เป็นการสร้างระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรม เป็นแหล่งรวมนักวิจัยของจุฬาฯ ซึ่งเป็น Research University That Teachers ที่พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และช่วยเหลือกัน โดยมีเป้าหมายนำผลงานวิจัยหรือบริษัทที่นำเทคโนโลยีที่เกิดจากการคิดค้นพัฒนาของอาจารย์มาสร้างนวัตกรรม สามารถเติบโตเพิ่มมูลค่าเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย ด้วยมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทภายใน 3 ปี ปัจจุบัน Club Chula Spin-off มี Deep Tech Startups เกือบ 200 บริษัท ทำหน้าที่แก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยกว่า 80% รวมทั้งมีการต่อยอดไปยังภาคส่วนต่างๆ  ทั้งในและต่างประเทศ  Club Chula Spin-off เป็นเสมือนพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้และเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัยกับนักลงทุน เพื่อต่อยอดเทคโนโลยี นวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้น

รศ.ภญ.ดร.จิตติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า จุฬาฯ มีบุคลากรที่มีผู้เชี่ยวชาญ มีนักวิจัยที่สร้างผลงานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ สิ่งที่ยังขาดอยู่คือการทำธุรกิจ การวางแผนการตลาด การสร้าง Deep Tech Startups จึงเป็นการยกระดับนักวิจัยที่มีมุมมองด้านธุรกิจ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงระหว่างนักลงทุนกับนักวิจัย ทั้งนี้ในปี 2566 จุฬาฯ ได้สร้างธุรกิจเพื่อสังคมมากกว่า 100 บริษัท มีเงินระดมทุนมากกว่า 10 ล้านดอลลาร์ มูลค่าตลาดมากกว่า 600 ล้านดอลลาร์ และสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนมากกว่า 4 ล้านคน โดยตั้งเป้าหมายในปี 2569 คาดว่าจะระดมทุนได้ถึง 100 ล้านดอลลาร์ และมีมูลค่าตลาดมากกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า