จุฬาฯ ในสื่อ

บทความพิเศษ : คนเมืองพึ่งพิงไสยศาสตร์มากขึ้น ถึงแม้ไม่เมคเซ้นส์ แต่ก็ทำให้อุ่นใจ

ทุกวันนี้กระแสความนิยมทางด้านสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวัตถุมงคลมีเพิ่มขึ้นและขยายตัวตลอดเวลา เพราะเหตุใดผู้คนในสังคมเมืองจึงเข้าหาและพึ่งพิงไสยศาสตร์ เป็นคำถามที่วิทยากรได้แสดงทัศนะในการเสวนาเรื่อง “เคลือบแคลง ย้อนแย้ง แสวงหา : ไสยศาสตร์ในวิถีเมือง” ในงานอักษรศาสตร์สู่สังคม ซึ่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้   “ไสยศาสตร์” ตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์ ไสยศาสตร์จึงกลายเป็นเรื่องงมงาย เหลวไหล ไม่น่าเชื่อถือ และไสยศาสตร์ยังตรงข้ามกับพุทธศาสน์ แต่ถึงโลกสมัยใหม่ผลักไสยศาสตร์ให้เป็นคู่ตรงข้าม หน้าที่และความหมายของไสยศาสตร์ในพื้นที่ชีวิตและจิตวิญญาณของคนยังคงเดิม และทวีความสำคัญในบริบทสังคมเมือง

บทบาทไสยศาสตร์ในสังคมชนบทและเมืองต่างกัน อย่างไรก็ตาม ไสยศาสตร์ดำรงอยู่ในวิถีชนบทและบริบทเมือง ตอบโจทย์และตอบสนองเป้าหมายและความต้องการของผู้คนต่างกัน ในสังคมชนบท ไสยศาสตร์รับใช้ “ความเป็นชุมชน” ในขณะที่ชุมชนเมือง ไสยศาสตร์ตอบสนอง “ความเป็นปัจเจกชน”

ไสยศาสตร์เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง สมัยก่อนกลุ่มคนที่เข้ามาเป็นแรงงานในเมือง (blue collar) จะเป็นกลุ่มที่พึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากที่สุด แต่ในปัจจุบัน white collar ก็พึ่งพิงไสยศาสตร์เช่นกัน กลุ่มคนที่อาชีพดูมั่นคงก็ยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิต ไสยศาสตร์ก็อาจจะช่วยให้อยู่กับความไม่รู้และความไม่แน่นอนได้

ไสยศาสตร์เติมความหวังในโลกทุนนิยม ในบรรดาความปั่นป่วนไม่แน่นอนของสังคม มิติด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัจจัยที่ทำให้คนเดินเข้าสู่พื้นที่ของไสยศาสตร์มากที่สุด ไสยศาสตร์ในสังคมเมืองเน้นตอบสนองความต้องการและเป้าหมายเชิงปัจเจก วนเวียนอยู่กับเรื่องความมั่งคั่งร่ำรวย ความสำเร็จ มิติความรักความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนเมืองในโลกทุนนิยมแสวงหา การแก่งแย่งชิงดี การสั่งสมความมั่งคั่งตามกระแสทุนนิยม ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคง ต้องแสวงหาความเชื่อ พลังเหนือธรรมชาติเพื่อบันดาลในสิ่งที่ปรารถนา   

ไสยศาสตร์ปลอบประโลมความเหงาของคนเมืองเมืองหลวงมีผู้คนจากทั่วประเทศและประเทศใกล้เคียง หลั่งไหลเข้ามาหาโอกาสในการทำงาน การที่อยู่ห่างไกลบ้าน ทำให้ “ไสยศาสตร์” ทำหน้าที่เป็น “ที่พึ่งทางใจ” และ “สิ่งยึดเหนี่ยว” ให้อยู่ในสังคมเมืองอันโกลาหล การที่เมืองเป็นแหล่งรวมความหลากหลายของผู้คนและวัฒนธรรม จึงเกิดชุดความเชื่อ วิถีปฏิบัติย่อยๆ และวัตถุทางความเชื่อมากมายและหลากหลาย เทพเจ้าและผีตนใหม่ๆ ปรากฏขึ้นเรื่อยๆ มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและภูมิหลังอันหลากหลายความเชื่อ จิตวิญญาณติดมากับตัวเอง พอมาเจอกันในบริบทเมือง ย่อมนำไปสู่การผสมผสานก่อให้เกิดเป็นความเชื่อหรือวิถีปฏิบัติใหม่ๆขึ้นมา นำไปสู่การเติบโตของความเชื่อหรือวิถีปฏิบัติทางจิตวิญญาณรูปแบบใหม่ๆ คนเมืองนิยมเรียกชุดความเชื่อเชิงไสยศาสตร์ว่า “สายมู” หรือ “มูเตลู”

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ อยู่กับมูเตลูด้วยความเข้าใจไสยศาสตร์ คำพูดที่ว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” ช่วยเปิดพื้นที่ให้ไสยศาสตร์และความเชื่อเหนือธรรมชาติอยู่ได้ และขยายตัวในสังคม ช่วยเปิดพื้นที่ให้คนได้ทดลอง “ถ้าไม่เสียหายไม่ผิดกฎหมาย และศีลธรรม ก็น่าจะลองดู” และทำให้คนที่เชื่อและไม่เชื่อ อยู่ร่วมกันได้บนพื้นที่ของความเชื่อที่ต่างกัน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า