รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
5 มีนาคม 2563
PPTV
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระจายอยู่ทุกทวีปทั่วโลกในเวลานี้ ยังคาดการณ์ระยะเวลาไม่ได้ว่าจะหยุดการแพร่ระบาดเมื่อไหร่ เพราะคนตกเป็นพาหะการแพร่กระจาย แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอุบัติใหม่ ที่ตรวจดูพัฒนาการของไวรัสชนิดนี้ ยังไม่พบพัฒนาการเชื้อชนิดนี้อีกขั้น ซึ่งอาจจะหยุดอยู่แค่การการระบาดในมนุษย์
นักเทคนิคการแพทย์หญิงสุภาภรณ์ วัชรพฤกษาดี รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เผยการศึกษาพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ว่า ยังไม่พบการพัฒนาของรหัสพันธุกรรมของไวรัส เพื่อให้กระจายจากมนุษย์สู่สัตว์อีก และสภาพอากาศในประเทศไทยที่เป็นประเทศเขตร้อน ทำให้ไวรัสที่แพร่กระจายอยู่นอกร่างกายมนุษย์ มีอายุสั้นกว่า ประเทศเขตหนาว เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
นักเทคนิคการแพทย์หญิงสุภาภรณ์ เป็นผู้ค้นพบการแพร่เชื้อไวรัสในค้างคาวครั้งแรกของโลกโดยวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมเชื้อโคโรนาไวรัส พบว่าใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่พบในตัวค้างคาวมงกุฏเทาแดง 96 % ตัวลิ่น 90 %
แต่ลักษณะการระบาดของโควิด-19 คล้ายกับโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น อีโบล่า เมอร์ส และซาร์ส ที่จัดอยู่ในโรคอุบัติใหม่ที่มีสัตว์เป็นแหล่งนำโรค รวมทั้งพิษสุนัขบ้าก็เป็นโรคจากสัตว์สู่คน โดยโรคระบาดจะมีเวลาการแพร่กระจายก่อนจะถูกควบคุมได้ในที่สุด
ขณะนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาฯ กำลังศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัส “นิป้าห์” เพราะไทยมีความเสี่ยงจะเกิดการระบาดของโรคไวรัสนิปาห์ หากคนสัมผัสกับฉี่หรือน้ำลายค้างคาวโดยตรง หรือสุกรที่ได้รับเชื้อจากสิ่งคัดหลั่งของค้างคาวและแพร่มาสู่คน ในอดีตเคยพบการแพร่ระบาดในคนมาแล้วแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่มา https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/120634
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้