รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
31 มกราคม 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมมือกับบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ประกาศความสำเร็จการทำงานภายใต้แนวคิด Open Innovation Platform หรือการดำเนินธุรกิจแบบเปิดรับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนวัตกรรมร่วมกัน โดยนำงานวิจัยทางด้านสุขภาพและเทคโนโลยีสุขภาพมาต่อยอด พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic สู่เชิงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้บริโภค สร้างมูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 ณ อาคาร 2 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ โดยมี ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามความร่วมมือดังกล่าวจากนั้นมีการแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic โดย ภก.กิตติณัฐ ศรภิญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทอินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.พงศธร ประภักรางกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic Pro Beta-Glucan+ ซึ่งเป็นการดำเนินงานวิจัยระหว่างบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนำประโยชน์จากเบต้า-กลูแคน มาผสมกับสารโพรโพลิส ซัลโฟราเฟนในผงบร็อคโคลี่ วิตามินดี 3 วิตามินซี และเควอซิติน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับปอด และผลิตภัณฑ์ Innobic Probiotics GD ซึ่งดำเนินงานวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการคัดเลือกเชื้อโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ไทยที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทยครั้งแรกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสร้างจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้าไปในร่างกายเพื่อให้เหมาะสมกับคนไทย ทั้งนี้ ผลิตเสริมอาหาร ทั้ง Innobic Pro Beta-Glucan+ และ Innobic Probiotics GD มีจำหน่ายแล้วที่ LAB Pharmacy ทุกสาขา
ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic Pro Beta-Glucan+ เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ป่วยจากอาการ Long COVID มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงปัญหามลภาวะจากฝุ่น P.M.2.5 และจำนวนผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพปอดของประชาชน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโจทย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย สามารถบำรุงปอดให้แข็งแรงด้วยการนำเบต้ากลูแคนมาผสมกับสารออกฤทธิ์หลายชนิดเพื่อให้มีฤทธิ์เสริมกันในการฟื้นฟูปอดได้ 100% ซึ่งจากทดสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ Innobic Pro Beta-Glucan+ สามารถปกป้องและฟื้นฟูปอดได้ ผู้ป่วยหรือแม้กระทั่งคนปกติที่อยากเสริมสร้างสุขภาพตนเองให้ดีก็สามารถทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ได้ เนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ 100 % ไม่มีสารเคมี หรือสารปนเปื้อนจากโลหะหนัก ซึ่งน่าจะช่วยให้การทำงานของร่างกายโดยรวมดีขึ้น จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย
ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ กล่าวถึงความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic Pro Beta-Glucan+ ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ว่ามีความสำคัญมาก ในฐานะนักวิจัย ผลงานวิจัยส่วนใหญ่กว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ได้ต้องใช้เวลานานมาก เนื่องจากเรามีองค์ความรู้ แต่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีกระบวนการการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังนั้นบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด สามารถเข้ามาช่วยได้ในส่วนของมาตรฐานและการดูแลการผลิต
“ขอให้เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของคนไทย ผู้ที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่เฉพาะผู้ป่วย ประชาชนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของประเทศอีกด้วย” คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในที่สุด
จุฬาฯ Triple Champions อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยจากสามรายการจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
สัมมนา “จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: โอกาสและความท้าทายระดับโลก”
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP ของประเทศ 3 ด้าน โดย THE WUR 2025
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ เปิดตัวหนังสือ “การเดินทาง 50 ปี สู่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”
เชิญร่วมประกวดวงดนตรีและประกวดหนังสั้น เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
นักวิชาการศศินทร์ เผยผลวิจัยข้อเท็จจริงและโอกาสสำหรับผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้