รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดให้บริการ “ศูนย์เอ็มเน็ต” (MNET Center) ให้คำปรึกษาด้านโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก 4 สหสาขาวิชาในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 16.30 – 19.30 น. ที่ชั้น 15 อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ด้วยระบบนัดหมายล่วงหน้า
“ศูนย์เอ็มเน็ต” (Medical Nutrition and Exercise Therapy) หรือศูนย์บำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ มุ่งเน้นให้คำปรึกษาผู้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน รวมถึงผู้สูงอายุที่ต้องการเตรียมตัวให้เข้าสู่สังคมสูงวัย โดยศูนย์จะให้คำแนะนำแนวทางการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย หรือให้คำปรึกษาอื่นๆ ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายแบบเฉพาะบุคคล
ผู้สนใจเข้ารับบริการสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfXUkGT757atiHtD7GMOXke-UY2KD0_NtCDIeqqumaomiYFIA/viewform
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-2218-1573 ในเวลาทำการ จันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 16.30 -19.00 น. หรือนอกเวลาทำการ โทร.09-8514-7888 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. หรือ Facebook Page: MNET Center ศูนย์บำบัดโรค NCDs ด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์
รศ.สมนึก กุลสถิตพร หัวหน้าศูนย์บำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ (เอ็มเน็ต) คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง “ศูนย์เอ็มเน็ต” ว่าศูนย์นี้จะให้บริการทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสหเวชศาสตร์ ตลอดจนใช้ในการเรียนการสอนนิสิต และการวิจัยของคณาจารย์ เป็นการบูรณาการความรู้ทางสหเวชศาสตร์เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการในกลุ่มของโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน จำเป็นต้องใช้ศาสตร์ทางด้านสหเวชศาสตร์เข้ามาช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การตรวจเลือด
รศ.สมนึกกล่าวย้ำว่า ศูนย์ “เอ็มเน็ต” เน้นที่คุณภาพการให้บริการมากกว่าจำนวนผู้รับบริการ การให้บริการภายในศูนย์เน้นสองส่วนหลักๆ คือการให้คำปรึกษาทางโภชนาการและการออกกำลังกายแก่ผู้รับบริการทั้งในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคในกลุ่มนี้ และกลุ่มผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาด้านความสมดุลร่างกาย โดยจะมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายและนำผลมาออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย “ศูนย์เอ็มเน็ต” ยังเสริมการทำงานกับคลินิกกายภาพบำบัด และคลินิกเทคนิคการแพทย์ที่ให้บริการตรวจเลือดของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ อีกด้วย
ผู้ที่ใช้บริการจะต้องมาที่ศูนย์เอ็มเน็ตรวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและศึกษาข้อมูลประวัติต่างๆ ครั้งที่ 2 เป็นการนำผลจากการทดสอบครั้งแรกมาวางแผนและตั้งเป้าหมายการออกกำลังกาย ครั้งที่ 3 – 6 เป็นการติดตามทางด้านโภชนาการ และการฝึกออกกำลังกายจริง
รศ.สมนึก กล่าวเพิ่มเติมว่าทางศูนย์มีแผนในการให้คำปรึกษาทางไกลผ่านระบบออนไลน์สำหรับผู้ที่ติดภารกิจไม่สามารถเดินทางมายังศูนย์ได้ และการให้คำปรึกษาผ่านระบบไลน์ แผนงานในอนาคตจะมีการตรวจเป็น package โดยร่วมมือกับคณาจารย์ทางด้านรังสีเทคนิคและเทคนิคการแพทย์ในการดูแลให้คำปรึกษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ซึ่งต้องมีการตรวจเลือด ตรวจมวลกระดูก วางแผนเรื่องการทานอาหาร การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกระดูก
“เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ถ้าเราให้ความสำคัญกับสุขภาพน้อยกว่าการหารายได้ เมื่อสุขภาพของเราแย่ เงินมหาศาลก็ไม่สามารถช่วยได้ เราอาจต้องใช้เงินที่เก็บมาทั้งชีวิตไปกับการดูแลรักษาตนเอง ถ้าเรารักษาสุขภาพของเราให้ดีอย่างต่อเนื่องไปจนถึงบั้นปลายชีวิต เราก็อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วยในอนาคต” รศ.สมนึก กล่าวในที่สุด
ผศ.ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะผู้ก่อตั้งศูนย์เอ็มเน็ต เปิดเผยว่า ศูนย์นี้เป็นหน่วยงานให้บริการที่แปรจากงานวิจัยมาทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคม รวมทั้งมีส่วนสนับสนุนในเรื่องการเรียนการสอนให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติจริง ภายในศูนย์มีคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการเพื่อปรับพฤติกรรม สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ต่อเนื่องได้อย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
“อยากให้ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) รวมถึงผู้ที่เป็นโรคในกลุ่มนี้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์เอ็มเน็ต ขอให้ตั้งใจปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยชะลอการเกิดโรค ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ผศ.ดร.ทิพยเนตร แนะนำ
อ.ดร.แพรว จันทรศิลปิน ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งให้คำปรึกษาทางโภชนาการที่ศูนย์เอ็มเน็ต เผยถึงจุดเด่นของศูนย์เอ็มเน็ตว่าเป็นการบูรณาการของศาสตร์ทั้ง 4 สาขาของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ และนักรังสีเทคนิค รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องโดยการติดตามในเชิงพฤติกรรมในผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพื่อการดูแลตนเองได้ดียิ่งขึ้น
รศ.ดร.อนงค์ ตันติสุวัฒน์ อาจารย์ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งร่วมให้คำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายแก่ผู้รับบริการที่ศูนย์เอ็มเน็ต กล่าวว่า ศูนย์นี้จะช่วยให้ผู้รับบริการได้นำความรู้และคำแนะนำไปปฏิบัติเพื่อปรับพฤติกรรมในการดูแลตนเอง ซึ่งจะช่วยในการป้องกันโรคและสนับสนุนการรักษาของแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น ศูนย์เอ็มเน็ตจะเน้นการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้อง เลือกการออกกำลังกายที่ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรง
ผศ.ภูษิตา บริสุทธิกุล ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุในเรื่องการออกกำลังกายแบบโยคะและได้นำมาใช้ในศูนย์นี้ด้วย กล่าวว่าการออกกำลังกายแบบโยคะจะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายแบบโยคะยังช่วยให้คนที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องนั่งนานๆ โดยไม่ได้ออกกำลังกายมีสมรรถภาพของปอดดีขึ้นอย่างชัดเจน
อัซรีย์ จิตต์ปราณี และกุลปริยา สมคำ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งรับหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ศูนย์เอ็มเน็ต โดยร่วมจัดทำเพจ Facebook: MNET Center ศูนย์บำบัดโรค NCDs ด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ เพื่อให้ข้อมูลและแนะนำการให้บริการต่างๆ ของศูนย์ในรูปของ Infographic รวมทั้งจัดทำแบบฟอร์มการลงทะเบียนใช้บริการ ทั้งสองรู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยงานในศูนย์นี้ อยากให้ศูนย์เอ็มเน็ตเป็นที่รู้จักซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ใช้บริการในด้านการดูแลสุขภาพ
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้