รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 สิงหาคม 2561
ข่าวเด่น
ก่อนเปิดภาคการศึกษา นิสิตชั้นปีที่หนึ่งนับพันคนจะมารวมตัวกันที่สนามหญ้าหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เพื่อการถวายบังคม และกล่าวคำปฏิญาณตนอย่างพร้อมเพรียงกันว่า พวกเขาจะเป็นเป็นนิสิตที่ดีและจะนำความรู้ไปใช้พัฒนาประเทศอย่างสุดความสามารถ พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์อันทรงคุณค่า ซึ่งนิสิตสามารถร่วมเข้าร่วมได้โดย “ความสมัครใจ”
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัด “พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน” ขึ้นเป็นประจำทุกปีสำหรับนิสิตชั้นปีที่หนึ่ง ซึ่งมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน เพื่อปลูกฝังให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี และสร้างจิตสำนึกในการเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย เพื่อให้คำมั่นว่าจะเป็นนิสิตที่ดี และพลเมืองดีของประเทศชาติ การปฏิญาณตนต่อหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าถือเป็นพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ต่อสองพระมหากษัตริย์ผู้ทรงก่อตั้งและสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นกษัตริย์ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศไทย
นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพแล้ว พิธีการดังกล่าวยังสืบเนื่องและเกี่ยวข้องโดยตรงกับจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยในฐานะโรงเรียนมหาดเล็ก ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2445 และต่อมาพัฒนาเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 และสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2459 ตามลำดับ การถวายบังคมเป็นการแสดงความเคารพของมหาดเล็กต่อพระมหากษัตริย์ การเลือกใช้รูปแบบการแสดงความเคารพดังกล่าวจึงมีความหมายเฉพาะสำหรับนิสิตชั้นปีที่หนึ่งของจุฬาฯ ถือเป็นการระลึกถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของมหาวิทยาลัย ดังนั้น พิธีการนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลเท่านั้น แต่ถือเป็นห้วงเวลาอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะเข้าสู่การเป็นนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเต็มภาคภูมิอีกด้วย
ทั้งนี้ ทางสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กำหนดพื้นที่ในการแสดงความเคารพด้วยวิธีอื่น เช่น การถวายคำนับ สำหรับนิสิตที่มีข้อจำกัดด้านสภาพร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการคุกเข่าและถวายบังคม และสำหรับนิสิตที่มีความเชื่อทางศาสนา ทัศนคติทางการเมืองและอุดมการณ์ที่เห็นต่าง ก็สามารถเข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนได้เช่นกัน
รมว.ศึกษาธิการเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ ICESML 2025 ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กำหนดภาวะผู้นำแห่งอนาคตและปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารระบบการศึกษา
งานเปิดตัวเข็มวันอานันทมหิดล ประจำปี 2568 “Air We Share, Lungs We Care ห่วงใยทุกลมหายใจ”
ศศินทร์เปิดหลักสูตรระยะสั้น Radical Innovation in Family Business: Transforming for the Future
18 - 19 มิถุนายน 2568 เวลา 09.00 - 16.30 น. ศศินทร์
จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “เสว่ยหลง 2 และอนาคต” เสริมความร่วมมือไทย–จีน ด้านการวิจัยขั้วโลกและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จุฬาฯ ต้อนรับผู้บริหาร Durham University สหราชอาณาจักร หารือความร่วมมือทางวิชาการ
แถลงข่าวเปิดตัวโครงการอบรมเฉพาะทางระยะสั้น “World Class Destination Development”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้