ข่าวสารจุฬาฯ

Chula The Impact ครั้งที่ 18 เรื่อง การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่ 1

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration: KRAC) โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNOCD) คณะนิติศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน Chula The Impact ครั้งที่ 18 เรื่อง “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 1” (International Conference on Anti-Corruption Innovations in Southeast Asia) เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนำเสนอความก้าวหน้าด้านการต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยในเวทีระดับนานาชาติ ในวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 – 17.00 น. ณ ห้องศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ชั้น 5 คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้มุ่งประเด็นไปที่โครงการริเริ่มสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริม ธรรมาภิบาลของภาครัฐและองค์กรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเร่งแก้ปัญหาการคอร์รัปชัน และสร้างเวทีทางวิชาการที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน นักปฏิรูปภาคประชาสังคมและภาคเอกชน รวมถึงผู้กำหนดนโยบายสาธารณะจากหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีส่วนร่วมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนแนวคิดและองค์ความรู้เชิงนวัตกรรม ตลอดจนประสบการณ์การปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ระหว่างองค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับภูมิภาคและนานาชาติต่อไป

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้ออกแบบนโยบาย และผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่มาจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมจากหลากหลายประเทศ การประชุมแบ่งเป็นการเสวนาและอภิปราย 3 ช่วง แต่ละช่วงจะใช้เวลาในการนำเสนอหัวข้อประมาณ 90 นาที โดยหัวข้อสำคัญในการอภิปราย ได้แก่

(1) การใช้ข้อมูลเปิดเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลและคุณธรรม (Using Open Data to improve Governance and Integrity) ประกอบด้วยการเสวนาเรื่อง การเปิดเผยข้อมูล ความท้าทายและโอกาสในการเปิดเผยข้อมูล มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล และโอกาสในการต่อยอด หรือการใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจ อาทิ Open Bangkok ของกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และองค์กร Corruption Watch ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น

(2) การพัฒนาการกำกับดูแลและส่งเสริม การบริหารการเงินที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบ (Improving Oversight to Promote Transparent and Accountable Financial Management) ประกอบด้วยเรื่องอุปสรรค ความท้าทาย และบทเรียนที่ประสบความสำเร็จในงานเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชันในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ แนวทางในการเสริมสร้างกระบวนการตรวจสอบการใช้งบประมาณ และการตรวจสอบความโปร่งใสของโครงการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ เช่น โครงการ CoST ประเทศไทย โครงการข้อตกลงคุณธรรมในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมผู้ตรวจสอบการทุจริต (Association of Certified Fraud Examiners : ACFE)

(3) การประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการคอร์รัปชันในกระบวนการนิติบัญญัติ(Assessing and Addressing Corruption Risk Factors in Legislation) เป็นการเสวนาเกี่ยวกับปัญหาและความท้าทายเรื่องการคอร์รัปชันในการออกกฎหมาย โอกาสในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันในการออกกฎหมาย และบทเรียนในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันในการออกกฎหมาย อาทิ บทเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิพลเมืองและการป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน (The Anti-Corruption and Civil Rights Commission: ACRC) ของเกาหลีใต้ และมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล ประเทศไทย ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดทางออนไลน์และรับชมย้อนหลังได้ที่ Facebook Live: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า