รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งนิสิตเก่าจุฬาฯ น้องใหม่ ปี 2513 จัดขึ้น ณ ชั้น 2 อาคารจักรพงษ์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อเสด็จเข้าอาคารจักรพงษ์ ผู้แทนนิสิตเก่าน้องใหม่จุฬาฯ 2513 ทูลเกล้าฯ ถวายพวงมาลัยใบจามจุรี นิสิตเก่าน้องใหม่จุฬาฯ 2513 ร่วมร้องเพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน “50 ปี น้องใหม่จุฬาฯ 2513” กราบบังคมทูลรายงานและเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อสนับสนุนโครงการจัดสร้างหอเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งอาจารย์และนิสิตเก่าจุฬาฯ จะดำเนินการจัดสร้าง ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา 2 เมษายน 2568 ผศ.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ รองประธานมูลนิธิมหาจักรีสิรินธร เข้ารับพระราชทานเงิน ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ประธานชมรมน้องใหม่จุฬาฯ 2513 เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือที่ระลึกของน้องใหม่จุฬาฯ รุ่น 2513
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จขึ้นชั้น 2 อาคารจักรพงษ์ ทรงวางพวงมาลัยหน้าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งได้พระราชทานพระราชานุญาตให้คณะกรรมการจัดงาน “50 ปีน้องใหม่จุฬาฯ 2513” จัดแสดงนิทรรศการและทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับคณะกรรมการจัดงาน ผู้บริหารและบุคลากรหอประวัติจุฬาฯ
ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ชั้น 2 อาคารจักรพงษ์ หอประวัติจุฬาฯ จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปีการเป็นน้องใหม่ของนิสิตที่เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2513 ซึ่งเป็นนิสิต รุ่นที่ได้ศึกษาในช่วงเวลาที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงศึกษาระดับปริญญาตรี ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ระหว่างปี 2516 – 2519 เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของสมเด็จเจ้าฟ้านิสิตพระองค์แรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ทรงคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและพสกนิกรไทยอย่างอเนกอนันต์เสมอมา
ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติมีการนำเสนอนิทรรศการออกเป็น 3 ส่วน คือ “รอยพระบาทยาตรายังจารึก” “รัตนเทพจริยา ยิ่งปราชญ์ ปวงแฮ” “เราล้วนรักจามจุรีนี้หนักหนา” จัดแสดงสื่อวีดิทัศน์ ภาพถ่าย สิ่งของเครื่องใช้ทรงคุณค่าอันเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งทรงเป็น “เจ้าฟ้านิสิต ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ” ซึ่งทรงพระกรุณาพระราชทานให้หอประวัติจุฬาฯ เก็บรักษาเป็นสิ่งของทรงคุณค่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อหานิทรรศการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเสด็จฯ มาทรงศึกษาในระดับปริญญาตรี ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา และได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร พระอัจฉริยภาพเมื่อครั้งทรงร่วมกิจกรรมของชมรมดนตรีไทย ชมรมวรรณศิลป์ สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกิจกรรมนิสิต ถ่ายทอดผ่านการจัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ เอกสาร หนังสือ เครื่องใช้ส่วนพระองค์ และสื่อมัลติมีเดีย ตลอดจนเรื่องราวความผูกพันที่ทรงมีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดแสดง ณ ชั้น 2 อาคารจักรพงษ์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
นิสิตบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ 2 หัวข้อในโครงการ “Architecture and Design for Society Lecture Series AY2024”
นวัตกรรมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 สาขาบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น ประเภทนวัตกรรมการบริการ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ “พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์”
ศศินทร์ เสริมทักษะนักลงทุนให้นิสิตด้วย TradingView
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “แผนที่ประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ 2515”
23 กันยายน - 8 พฤศจิกายน 2567
ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้