รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
เมื่อวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมตึกเคมี 2 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ TNN สัมภาษณ์ ผศ.ดร.ชฎิล กุลสิงห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ พญ.ภัทราวลัย สิรินารา ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เกี่ยวกับงานวิจัยเรื่อง “สารเคมีจากกลิ่นเหงื่อบ่งบอกภาวะความเครียดสูงและซึมเศร้าได้” ซึ่งได้มีการนำร่องศึกษาวิจัยกับนักผจญเพลิงจากสถานีดับเพลิง 47 แห่งทั่วกรุงเทพมหานคร
ผศ.ดร.ชฎิล กุลสิงห์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือตรวจคัดกรองเชื้อ โควิด-19 จากกลิ่นเหงื่อ กล่าวถึงการนำงานวิจัยในเรื่องนี้มาใช้ในการวัดความเครียดและโรคซึมเศร้าจากสารเคมีในกลิ่นเหงื่อ โดยใช้ก้านสำลีที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว 2 ก้าน เหน็บใต้รักแร้ซ้าย-ขวา แล้วนำก้านสำลีที่มีเหงื่อใส่ในขวดปลอดเชื้อที่มีฝาปิด จากนั้นส่งตัวอย่างมาห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจด้วยเครื่องวิเคราะห์กลิ่นสารเคมี แล้วรอเครื่องวิเคราะห์ผลประมาณ 10-20 นาที ซึ่งผลจะแสดงออกมาในลักษณะบาร์โค้ดของสารเคมีในแต่ละตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายในโครงการวิจัยนี้เป็นนักดับเพลิงซึ่งมีความเครียดสูงและเป็นกลุ่มที่แพทย์สามารถเข้าหาได้ง่าย ในอนาคตจะขยายให้สามารถตรวจกับกลุ่มอาชีพอื่นๆ ต่อไป
พญ.ภัทราวลัย สิรินารา กล่าวถึงสภาวะเครียดว่ามักเกิดขึ้นในวัยทำงานซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายได้ นอกจากกลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยซึ่งเป็นพนักงานดับเพลิงแล้ว การวิจัยเรื่องนี้ยังขยายไปยังอาชีพอื่น โดยกำลังศึกษาในกลุ่มพยาบาลทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีความเครียดสะสมจากการทำงาน นอกจากนี้ พญ. ภัทราวลัย ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่ายังต้องการทุนวิจัยจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อมาสนับสนุนเครื่องมือและกำลังคนในการเก็บตัวอย่างและทำวิจัย
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ “นักวิจัยจุฬาฯ พบสารเคมีในกลิ่นเหงื่อเผยเครียดจัด-ซึมเศร้า นำร่องคัดกรองสุขภาพจิตนักผจญเพลิงสำเร็จครั้งแรก” https://www.chula.ac.th/highlight/120183/
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้