รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 กรกฎาคม 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าวโครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล เมื่อวันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา ชั้น 3 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 84 ปีของวงการเพลงลูกทุ่งไทย และต่อยอดผสมผสานการเรียนรู้จากอดีตสู่ปัจจุบัน และยกระดับเพลงลูกทุ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญสู่อนาคต โดยมี รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดโครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล
การแถลงข่าวโครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล ผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วยคุณฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คุณสาโรจน์ เล้าเจริญสมบัติ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ ผศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการ จากนั้นเป็นการเสวนาหัวข้อ “84 ปีลูกทุ่งไทย พลังผสานสมัยสู่สากล” โดย อ.อานันท์ นาคคง ร้อยตรี พงศ์พรรณ บุญคง คุณนคร ศรีเพชร และคุณชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ปิดท้ายด้วยการขับขานเพลงลูกทุ่งโดยชาย เมืองสิงห์ ศิลปินแห่งชาติ ศรชัย เมฆวิเชียร ยิ่งยง ยอดบัวงาม ดวงตา คงทอง และ เชิงชาย บัวบังศร
รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า โครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดโครงการจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจําปี 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมลูกทุ่งไทยที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และถ่ายทอดเรื่องราวของไทยผ่านยุคสมัย นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันลงในบทเพลงต่างๆ ที่ขับร้องโดยนักร้องที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของประชาชนชาวไทยตลอดมา โครงการนี้จะทบทวนและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเพลงลูกทุ่งไทยและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งผสานการมีส่วนร่วมของภาคส่วนสําคัญๆ ของวงการเพลงลูกทุ่ง โดยจะจัดกิจกรรมต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2567 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมเฉลิมฉลองวาระที่ดนตรีลูกทุ่งได้ถือกําเนิดขึ้นในประเทศไทยครบ 84 ปี
ผศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า ทางคณะนิเทศศาสตร์มีภารกิจที่สำคัญทางด้านการศึกษา วิชาการ และงานวิจัยต่อยอดองค์ความรู้ซึ่งทางคณะให้ความสำคัญมาโดยตลอด คณะนิเทศศาสตร์มีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการนี้มากว่าหนึ่งปีแล้ว โครงการนี้จะเป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกในทุกองค์ประกอบของการสร้างสรรค์เพลงลูกทุ่ง ไม่ว่าจะเป็นครูเพลง นักร้อง นักดนตรี หางเครื่อง ห้องบันทึกเสียง ผู้จัดจำหน่าย และอีกหลาย ๆ ภาคส่วนที่ทำให้เกิดเป็นเพลงลูกทุ่งไทย เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยนวัตกรรมด้านวัฒนธรรมที่ต่อยอดเพลงลุกทุ่งไทยก้าวสู่วงการดนตรีในระดับสากล เป็น Soft Power ของประเทศไทยที่มีพลังและสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้ประเทศได้เป็นมูลค่ามหาศาล
ผศ.ดร.สุกัญญา กล่าวถึงกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในโครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล ว่าประกอบด้วย การจัดเสวนาลูกทุ่งไทย 4 ภาค ซึ่งจะจัดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และกรุงเทพมหานคร ที่ศูนย์การค้ามาบุญครอง การจัดการประกวดหางเครื่อง โดยจะรับสมัครน้องๆ นักเรียนนักศึกษาส่งทีมเข้าร่วมประกวด โดยจัดควบคู่ไปกับการเสวนาย่อยที่จะมุ่งถอดบทเรียนและจัดการองค์ความรู้ที่ได้รับจากศิลปินลูกทุ่งของแต่ละภาค การผลิตสารคดีสั้นร้อยรสความทรงจำวัฒนธรรมลูกทุ่งไทย ความยาว 5 นาที 24 ตอน เพื่อรวบรวมองคาพยพของลูกทุ่งไทย ไม่ว่าจะเป็นนักแต่งเพลง นักร้อง นักดนตรี หางเครื่อง โฆษก ตลก ห้างแผ่นเสียง ชุมชนตำบลที่เคยเป็นของลูกทุ่ง ซึ่งเราพยายามรวบรวมเรื่องราวเหล่านี้ การจัดทำหนังสือร้อยรสความทรงจำ 84 ปี ลูกทุ่งไทย ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเพื่อหาความรู้ได้อย่างไม่จำกัด และการจัดแสดงคอนเสิร์ต 84 ปี ลูกทุ่งไทย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2567 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
“กิจกรรมครั้งนี้นับเป็นการเฉลิมฉลอง 84 ปีลูกทุ่งไทยอย่างยิ่งใหญ่ เป็นการต่อยอดองค์ความรู้และสุนทรียะวัฒนธรรมลูกทุ่งอย่างรอบด้าน และเป็นการสร้างปรากฏการณ์ให้เห็นว่าเพลงลูกทุ่งไทยเป็นศิลปะที่มีรากเหง้า มีการเติบโต มีพัฒนาการและมีความร่วมสมัยคู่ไปกับคนไทย สังคมไทยและสังคมโลก รวมถึงเป็นวัฒนธรรมบันเทิงที่ทุกคนสามารถสัมผัสและจับต้องได้” ผศ.ดร.สุกัญญา กล่าวทิ้งท้าย
ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ ปาฐกถาพิเศษที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเรื่อง “กระบวนทัศน์คุณภาพวิชาการในยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ – CAS-ICCB ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ
ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ ปาฐกถาพิเศษที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เรื่อง “กระบวนทัศน์คุณภาพวิชาการในยุคดิจิทัล”
วงดนตรี CU Band กับความประทับใจในงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี 20 กันยายนที่จุฬาฯ
ความพิเศษของงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี ปี 2567 20 กันยายนนี้ ณ หอประชุมจุฬาฯ
20 กันยายน 2567 เวลา 18.00 - 21.00 น.
ณ หอประชุมจุฬาฯ
PMCU ชวนร่วมแบ่งปันน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมเชียงราย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้