รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 สิงหาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
สยามสแควร์ เนรมิต Siam Square Walking Street ให้กลายเป็นทุ่งนาข้าว ในงาน “ข้าวในกรุง” เปิดพื้นที่แห่งโอกาสให้ คนเมืองได้เรียนรู้สัมผัสกับใบข้าวและใกล้ชิดกับ ภูมิปัญญาการปลูกข้าวอันทรงคุณค่า ถ่ายภาพเช็คอินทุ่งนาข้าวจริงใจกลางกรุง สัมผัสใกล้ชิดควายชื่อดัง 9 ตัว นำโดย เจ้าโก้เมืองเพชรพ่อควายเผือกชื่อดังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพชรสยามพ่อควายดำขนาดใหญ่ และ ควายสายพันธ์ยอดนิยม การแสดงย้อนยุค 4 ภาค ร่วมสนับสนุนสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหลากหลายผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรครั้งแรก ระหว่าง วันที่ 11-13 สิงหาคม 2566 นี้ ณ Siam Square Walking Street
โดยงาน “ข้าวในกรุง” ประกอบด้วยลานกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับข้าวและการทำนาปลูกข้าว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้ทุกคนในครอบครัวได้มาเรียนรู้และร่วมสนุกสนานกับ 3 ลานกิจกรรม
ลานที่ 1 “ลานทุ่งนา” ครั้งแรกกับการเนรมิตทุ่งนาข้าวใจกลางสยามสแควร์พร้อมสัมผัสบรรยากาศทุ่งนาวิถีชุมชนของไทยพบกับการปลูกข้าวสายพันธุ์สุพรรณบุรี กข. 41 โดยชาวนาจากจังหวัดสุพรรณบุรีที่นำ มาปลูกให้ชมกลางสยามสแควร์ในทุกๆ ช่วงวัย อาทิ ต้นกล้า ต้นโตเต็มวัย และข้าวกำลังออกรวงสีทองพร้อม เก็บเกี่ยว พิเศษสุด สัมผัสใกล้ชิดกับ ”กระบือ” หรือควายที่ช่วยชาวนาไถนาในอดีตที่ปัจจุบันน้อยคนจะได้พบ
วันที่ 11 สิงหาคม 2566 พบกับ เจ้าโก้เมืองเพชรควายเผือกเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จากเก้ามรกตฟาร์ม จังหวัดเพชรบุรี อายุ 4 ปี ความสูง 175 เซ็นติเมตร น้ำหนัก 1.5 ตัน หรือ 1,500 กิโลกรัม และ เพชรสยาม เพศผู้ อายุ 3 ปี 4 เดือน ความสูง 173 เซ็นติเมตร จากฟาร์มควายงามเมืองพระชนก จังหวัดอุทัยธานี
วันที่ 12 สิงหาคม 2566 พบกับ ควายวัยรุ่น ดาวรุ่งมาแรง ฟ้าประทาน เพศผู้ อายุ 3 ปี 8 เดือนจากควายงามฟาร์มดอนมหา จังหวัดมหาสารคาม, พิมพ์นิยม ปี 2 ขวบ 1 เดือน เพศเมีย ความสูงประมาณ 152 เซ็นติเมตร ลำตัวยาวประมาณ 250 เซ็นติเมตร จากสถิตคุณฟาร์ม จังหวัดนครสวรรค์ และ คิงคอง อายุ 2 ปี 3 เดือน ความสูงท้าย 175 เซ็นติเมตร ความสูงหน้า 173 เซ็นติเมตร ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ใหม่ของการพัฒนาสายพันธุ์ด้วยการเติบโตที่สูงใหญ่กว่าควายทั่วไปซึ่งต้องจับตามองว่าในอนาคตจะสูงใหญ่ที่สุดในประเทศไทยหรือไม่
วันที่ 13 สิงหาคม 2566 พบกับควายยักษ์ และ ควายแคระ นำโดยเพชรแท้ อายุ 2 ปี ควาย เพศผู้จากปิยะรัตน์ฟาร์ม จังหวัดชัยนาท, เงินดี เพศผู้ จากยิ่งยงฟาร์ม จังหวัดร้อยเอ็ด อายุ 5 ปี 6 เดือน ความสูง 172 เซ็นติเมตร, หมั่นโถว ควายเผือกแคระ เพศผู้ อายุ 3 ปี, แพนเค้ก ควายแคระดำ เพศเมีย อายุ 5 ปี ได้รางวัลชนะเลิศควายแคระรุ่นควายแคระเพศเมีย จากงานวิถีคนวิถีควายงามนามนาคำไฮ ซึ่งได้รางวัลเมื่อวันที่ 22-23 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา
ลานที่ 2 “ลานแสดงชุมชน” ชวนชมการแสดงดนตรีพื้นบ้านพร้อมการแสดง4 ภาค ที่คัดสรรมาให้ ร่วมสนุกสนาน อาทิ ดนตรีลูกทุ่ง, โปงลาง และการแสดงรำไทยจากชมรมสานสายใจ
ลานที่ 3 “ลานเกษตร” ที่จะได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว อาทิ ข้าวดอย จากชนเผ่าปกาเกอญอผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว อาทิ สบู่ออแกนิคจากน้ำมันรำข้าว, โลชั่นบำรุงผิว, เจลอาบน้ำจากข้าวหอมนิล,กาแฟดริปจากนมข้าว, น้ำข้าว และชาข้าว จากผู้ผลิตถึงมือผู้บริโภคโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางจากกลุ่ม life’s market และเกษตรกรตัวจริง
พลาดไม่ได้กับ “ข้าวในกรุง” สัมผัสชีวิตชาวนา และ ทุ่งนาใจกลางสยามสแควร์ ระหว่างวันที่ 11-13 สิงหาคม นี้ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/SiamSquareOfficial/?locale=th_TH หรือติดต่อฝ่าย กิจกรรม โทร. 02-255-9994 ต่อ 1110 – 1112 ณ SIAM SQUARE WALKING STREET
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
“หลักสูตรงานไม้สร้างสรรค์ที่ชุมชนถนนสายไม้บางโพ” โครงการจากคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างสร้างสรรค์
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้