รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 สิงหาคม 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ให้เป็นคณะทำงานจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยเน้นการใช้หญ้าแฝกเป็น “นวัตกรรมสังคม” เพื่อเป็นเครื่องมือหนุนเสริมชุมชนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในมิติสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ สู่การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ภายใต้ชื่อ “สืบสาน รักษา ต่อยอด” และมาตรการย่อย 16 มาตรการ
ทั้งนี้ สำนักงาน กปร. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การชี้แจงแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 – 2570)” เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ชั้น 20 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ระหว่าง พ.ศ. 2566 – 2570
นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี กล่าวถึงความสำคัญของหญ้าแฝกว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาเรื่องหญ้าแฝกด้วยพระองค์เอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ความพิเศษของหญ้าแฝกคือมีรากจำนวนมากประสานกัน สามารถยึดดินไม่ให้พังทลาย เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริที่ช่วยพัฒนาชาวเขาและพื้นที่ทำมาหากิน นอกจากการป้องกันดินและน้ำแล้ว ยังขยายโครงการทำวิจัยเพื่อมองหาประโยชน์ของหญ้าแฝกเพิ่มเติม โดยนำใบหญ้าแฝกไปทำเป็นเครื่องจักรสานเนื่องจากมีความเหนียวและทนทาน นอกจากนี้ยังได้นำหญ้าแฝกไปผลิตเป็นยาอีกด้วย”
สำนักงาน กปร. จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่รัชกาลที่ 9 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งทรงมีพระราชปณิธานที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล 9 โดยเฉพาะเรื่องหญ้าแฝกซึ่งมีประโยชน์ในการรักษาดินและน้ำ ช่วยพัฒนาพื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นเนิน เชิงเขา สำหรับเก็บน้ำเพื่อจะดำเนินการเพื่อการเกษตร ป้องกันไม่ให้ดินพังทลาย
ผศ.ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ อธิบายถึงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 7 ว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายจากสำนักงาน กปร. ให้เป็นผู้จัดทำแผนแม่บทดังกล่าว ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยเน้นเรื่องการอนุรักษ์ดิน และน้ำ ทั้งเชิงรุก เชิงรับ เชิงแก้ไข และเชิงป้องกัน ในแผนฉบับนี้เรามุ่งเป้าหมายให้เป็นไปตาม 3 ยุทธศาสตร์ที่วางแผนไว้ ประกอบด้วย การสืบสานวัฒนธรรมการใช้แฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ การรักษา เผยแพร่และสร้างองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับการใช้หญ้าแฝกเพื่อให้เป็นนวัตกรรมเพื่อสังคม ทำให้พี่น้องเครือข่ายต่างๆ ปรับบริบทในการอยู่ร่วมกัน เป็นเครื่องมือสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ การต่อยอด โดยเน้นไปที่การขยายเครือข่ายในระดับชุมชน หมู่บ้าน ประเทศ และเครือข่ายนานาชาติร่วมกับเครือข่ายหญ้าแฝกทั่วโลก
ศ.ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งร่วมในคณะทำงานจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวถึงการนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับวิศวกรรมมาใช้พัฒนาหญ้าแฝกว่า งานวิจัยก่อนหน้านี้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการใช้หญ้าแฝกช่วยชะลอน้ำไม่ทำให้เกิดภัยดินถล่ม การเสริมกำลังของราก โดยการวิเคราะห์เชิงตัวเลข เก็บข้อมูลในห้องปฏิบัติการ ติดตามประเมินผลต่างๆ ในการใช้หญ้าแฝกเพื่อการป้องกันภัยดินถล่มในภาคสนาม ในส่วนของงานวิจัยที่ทำระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาบันวิจัยสังคมในการจัดทำแผนแม่บทครั้งนี้ เป็นการทำงานแบบ 2 ศาสตร์ โดยมีหญ้าแฝกเป็นเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำงานวิชาการไปรับใช้สังคมอย่างเป็นรูปธรรม
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้