รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 ตุลาคม 2566
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
บริษัท Nabsolute จำกัด สตาร์ทอัพจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งพัฒนา Hy-N (ไฮ-เอ็น) นวัตกรรมไบโอพอลิเมอร์ ระบบนำส่งสารช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเวชสำอาง ยา และวัคซีน ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2566 ด้านเศรษฐกิจ ประเภทวิสาหกิจขนาดย่อมและวิสาหกิจรายย่อย จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งมอบให้แก่ผลงานนวัตกรรมในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์ และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ
พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นในงาน “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ 3 สยามพารากอน โดย รศ.ภญ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล CTO บริษัท Nabsolute จำกัด และ ภญ.พุทธิมน ศรีบนฟ้า CEO ของบริษัท ขึ้นรับรางวัลจาก รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ประธานกรรมการคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับหน่วยงานชั้นนำภาคเอกชน ภาคสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคสังคม จัดงาน “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” ในวันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติถือเป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดในแวดวงนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติแก่คนไทยที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นและเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติ
Hy-N TechnologyTM (ไฮ-เอ็น) ผลงานนวัตกรรมจากบริษัท Nabsolute จำกัด เป็นระบบนำส่งสารเข้าร่างกาย ที่ใช้ง่าย ปลอดภัยต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม โดยการตัดต่อไบโอพอลิเมอร์ในระดับนาโนให้สามารถนำส่งสารต่าง ๆ เข้าร่างกายได้ดีขึ้น เพิ่มความคงตัว และเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพหลากหลาย เช่น เครื่องสำอาง อาหารเสริม ยา และวัคซีน ให้ออกฤทธิ์ดีขึ้น ผลข้างเคียงน้อยลง ระบบนำส่ง Hy-N TechnologyTM ของ Nabsolute ได้รับจดสิทธิบัตรในระดับสากล PCT patent และได้รับการรับรอง ขึ้นทะเบียนในฐานข้อมูล Cosmetic ingredient database ของ US, EU
ภญ.พุทธิมน ศรีบนฟ้า CEO บริษัท Nabsolute จำกัด เปิดเผยว่า นวัตกรรม Hy-N TechnologyTM ช่วยเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศมากกว่า 80% ของต้นทุนสินค้า โดยบริษัทฯ มีโครงการค้นคว้าวิจัยเพื่อผลิตวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบนำเข้า เพื่อให้โครงสร้างอุปทานของวัตถุดิบทั้งหมดเป็นวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ แล้วเสร็จภายในปี 2569 นอกจากนี้ Hy-N TechnologyTM ยังลดมูลค่าการนำเข้าวัตถุจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น สมุนไพรไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ประสิทธิผลจาก Active Ingredients ดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับสูง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตสินค้าเครื่องสำอาง/เวชสำอางจากธรรมชาติที่มีประสิทธิผลอย่างแท้จริงและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ทั้งนี้ Hy-N TechnologyTM ยังเพิ่มมูลค่าการส่งออกนอกประเทศต่อปี โดยบริษัทฯ สามารถเป็นผู้ผลิตและส่งออกวัตถุดิบสารสำคัญเพื่อการนำส่ง (Delivery System) ที่ได้มาตรฐานระดับสากล คาดหมายว่าจะมีการส่งออกวัตถุดิบของบริษัทฯ มูลค่ารวม 294 ล้านบาทภายในปี 2569 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกนอกประเทศรวมทั้งสิ้น 6,394 ล้านบาท ภายในปี 2569
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้