รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 พฤศจิกายน 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
นางสาวกมลชนก สุขเพราะนา นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล “เยาวชนคนต้นแบบ” สาขาบำเพ็ญประโยชน์ ประจำปี 2566 จากสโมสรโรตารี จตุจักร ในโครงการเชิดชูเกียรติเยาวชนคนต้นแบบ เนื่องในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยได้รับรางวัลจากนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ณ สโมสรนายทหารปืนใหญ่ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
กมลชนก กล่าวว่ารู้สึกภูมิใจที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณในครั้งนี้ การทำกิจกรรมเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้พบเจอเพื่อนใหม่ ได้พัฒนาตนเองและสามารถต่อยอดเพื่อการทำงานจริงในอนาคต หลากหลายกิจกรรมทั้งในคณะและมหาวิทยาลัยที่เธอมีส่วนร่วมมีทั้งกิจกรรมค่ายอาสาบำเพ็ญประโยชน์ทั้งในคณะและกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ “โดมปลูกผักปลอดสารพิษ” เพิ่มมูลค่าสู่ชุมชน ในโครงการเด็กอวดทำดี ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี โดยได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อตอบสนองชุมชนในพื้นที่ห่างไกลให้มีอาชีพและรายได้เพียงพอต่อการครองชีพ เป็นการเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
แม้จะทำกิจกรรมมาแล้วมากมาย แต่กมลชนกก็ให้ความสำคัญเรื่องการเรียนเป็นอันดับแรก โดยใช้เวลาว่างหลังจากการเรียนและวันเสาร์อาทิตย์ในการทำกิจกรรมต่างๆ ตามความสนใจ ทำให้การทำกิจกรรมที่ผ่านมาไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียน
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้