รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 พฤศจิกายน 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจำนวนมาก การใช้ชีวิตของผู้สูงวัยที่จะต้องปรับตัวเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมดิจิทัลเป็นประเด็นที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่” ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2567
รศ.ดร.พนม ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องนี้เปิดเผยว่าผลงานวิจัยเรื่องนี้ดำเนินการโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) เป็นการสร้าง Active Aging สร้างโอกาสจากดิจิทัล ผ่านการศึกษาและวิจัย เพื่อหาวิธีการที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในสังคมดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทางรายได้ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงนโยบายช่วยเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้สูงอายุในสังคมดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในสังคมดิจิทัลได้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงมุมมองของผู้สูงอายุในยุคนี้ โดยผู้สูงอายุต้องมองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี วิถีชีวิตใหม่ และความแตกต่างทางวัย การเป็นผู้สูงอายุที่ใช้เทคโนโลยีได้นั้นจะต้องมีการสร้างแพลตฟอร์ม สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย เข้าถึงสวัสดิการรัฐบนออนไลน์ และต้องมีการสร้างความภาคภูมิใจก่อนที่จะสร้างรายได้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างความมั่นคงทางรายได้จากเทคโนโลยี
ผลงานวิจัยเรื่องนี้ได้เสนอหลากหลายวิธีการ เช่น การให้ความรู้ การสร้างแพลตฟอร์ม การสร้างคอนเทนต์ในโลกดิจิทัล การสร้างความภาคภูมิใจก่อนที่จะสร้างรายได้ และการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในกลุ่มผู้สูงอายุ
รศ.ดร.พนมได้ฝากข้อคิดสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ในการทำงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จว่า “ในการทำงานวิจัยควรมองปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน งานวิจัยครั้งนี้เกิดจากการมองเห็นปัญหาช่องว่างระหว่างวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัล ซึ่งผลงานวิจัยสามารถนำไปเป็นนโยบายในการบริหารจัดการกระบวนทัศน์ต่อผู้สูงวัยในปัจจุบันและในอนาคต”
ในอนาคต รศ.ดร.พนมได้วางแผนการทำงานวิจัยและการผลิตงานโปรดักชั่น เช่น การเผยแพร่คลิปวิดีโอที่สะท้อนมุมมองปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรูปแบบ “ราโชมอน” โดยเสนอการเล่าเรื่องในลักษณะ “มองต่างมุม” ผ่านสถานการณ์ที่ความจริงถูกรับรู้แตกต่างกัน หรือถูกเล่าออกมาจากหลายมุมมอง แล้วเกิดขัดแย้งหรือหักล้างกันเอง’ รวมทั้งร่วมศึกษาจากปัญหาในพื้นที่จริงในมิติที่ยังไม่เคยมีใครนำเสนอมาก่อน
จุฬาฯ Triple Champions อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยจากสามรายการจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
สัมมนา “จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: โอกาสและความท้าทายระดับโลก”
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP ของประเทศ 3 ด้าน โดย THE WUR 2025
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ เปิดตัวหนังสือ “การเดินทาง 50 ปี สู่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”
เชิญร่วมประกวดวงดนตรีและประกวดหนังสั้น เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
นักวิชาการศศินทร์ เผยผลวิจัยข้อเท็จจริงและโอกาสสำหรับผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้