รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 มกราคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาประถมศึกษา และสาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในวันเด็กแห่งชาติ 2567 Children’s Day @Chula “สร้างสรรค์ – เรียนรู้ – เล่นสนุก” (Create – Learn – Play) ในวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และลานพิพิธศิลป์
กิจกรรมท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในวันเด็กแห่งชาติ 2567 (Children’s Day @Chula 2024) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สร้างสรรค์ – เรียนรู้ – เล่นสนุก” (Create – Learn – Play) เด็ก ๆ และครอบครัวจะสนุกไปกับการเรียนรู้ด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ ภายในงานจะมีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ ผ่าจระเข้ วาดภาพระบายสี เพ้นท์ก้อนหิน กิจกรรมโรยทรายประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่ เล่นสนุกกับ เล่นเพลิน Loose parts play space และฟังเพลงเพราะ ๆ กับศิลปินตัวน้อยร่วมกับวง CU Chamber กิจกรรมดังกล่าวเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมให้เกิดการเล่นและเรียนรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์ในแง่มุมใหม่ให้กับเด็กและเยาวชนไทย รวมทั้งการสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียน เปิดโลกทัศน์ให้เด็กและเยาวชน
ตารางกิจกรรม Children’s Day @Chula
“สร้างสรรค์ – เรียนรู้ – เล่นสนุก” กันทั้งวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.00น.
09.00 – 15.00 น. เปิดโลกของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยกับพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ
เล่นเพลิน Loose parts play space กับพี่ ๆ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
ระบายสีบนก้อนหินและโรยทรายประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่ กับพี่ ๆ
ครุศิลป์ จุฬาฯ
09.30 – 12.00 น. ต้อนรับทักทายด้วยเสียงเพลงกับน้อง ๆจากโรงเรียนดนตรีครูบิ๊ก และโรงเรียนดนตรี Dares Voice Studio by Krutann ร่วมบรรเลงเสียงเพลงจากวง CU Chamber
10.00 น. ไปดูผ่าสัตว์อะไรเอ่ย? ที่พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯกันนะ!!!
13.00 น. พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ จะผ่าจระเข้กันอีกรอบ
15.00 น. ปิดกิจกรรม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3645-6
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้