รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 เมษายน 2567
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิการบดี ด้านการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาฯ และคุณเกตุธิดา ชีวรุ่งนภากุล ประธานกรรมการบริหารบริษัท อินโนไฟโตเทค จำกัด ร่วมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามอนุสิทธิบัตรเกี่ยวกับ “กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเพคตินจากผลทุเรียนอ่อน” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของเทคโนโลยีให้แก่บริษัท อินโนไฟโตเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท spin off ที่บ่มเพาะโดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ (CU Innovation Hub) โดยมี รศ.ดร. ศุภอรรจ ศิริกันทรมาศ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ตัวแทนนักวิจัยและตัวแทนผู้ประดิษฐ์ในอนุสิทธิบัตรนี้ ลงนามเป็นพยานและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามครั้งนี้
การศึกษาวิจัยและนวัตกรรมสารสกัดทุเรียนอ่อนได้ถูกพัฒนาให้มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพกลุ่มโพลีฟีนอลและเพคตินในปริมาณสูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ บริษัท อินโนไฟโตเทค จำกัด มีความพร้อมในการผลิตสารสกัดทุเรียนอ่อนที่อุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดีต่อผิวหนัง เช่น สารต้านอนุมูลอิสระและชะลอวัย เพื่อจำหน่ายให้แก่บริษัทที่สนใจนำสารสกัดนี้ไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้กรรมวิธีที่ใช้ในการสกัดมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย
นิสิตเภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัด “ค่าย 3 สัญจร สอนสัมพันธ์”ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนจังหวัดอ่างทอง
นิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ “INNOVATORS IMPACT CHALLENGE 2025” สร้างสรรค์นวัตกรรมโปรตีนจากรังไหม
เชิญเข้าร่วมอบรมหัวข้อ “AI กับความเป็นส่วนตัว: เราควบคุมหรือถูกควบคุม?”
9 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์
การสร้าง Course Syllabus และการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ myCourseVille ในระบบทวิภาค และระบบทวิภาค-นานาชาติ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2567
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ “PDPA OK Aha! เข้าใจความท้าทายจนนำไปปฏิบัติได้”
24 เมษายน 2568 เวลา 09.00 - 12.00 น. หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคาร 3
สถาบันภาษา จุฬาฯ จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจําปี 2568 (46th Language Testing Research Colloquium: LTRC 2025)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้