รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 เมษายน 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น
ผู้สูงอายุกว่า 1 ใน 3 ประสบปัญหาในเรื่องการได้ยิน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ที่ประสบปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะประสาทหูเสื่อมตามวัย ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไปถึง 1.94 เท่าการมาพบแพทย์เพื่อตรวจการได้ยินและใช้เครื่องช่วยฟังจะช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวได้
ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดำเนินงานโครงการ ได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ บริษัท เอียร์โทน (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้โครงการ “การตรวจการได้ยินที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ด้วยเอไอซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น เพื่อช่วยคาดการณ์ภาวะเสื่อมถอยทางสติปัญญาของผู้สูงอายุ” โดยร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงลอนดอน University College London
จัดงานเสวนา “ได้ยินชัด ลดเสี่ยงสมองเสื่อม” ระหว่างวันที่ 23 – 25 เมษายน 2567 ณ ห้างดิโอลด์สยาม พลาซ่า เพื่อเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมในการตรวจการได้ยินผ่านแอปพลิเคชัน “Eartest by Eartone” ที่พัฒนาขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ ภายในงานมีการทดสอบการได้ยินเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุด้วย
“Eartest by Eartone” เป็นแอปพลิเคชันตรวจการได้ยินด้วยคำพูดภาษาไทยครั้งแรกในไทย เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยเทคนิค Virtual Reality (VR) ที่จำลองสถานการณ์การรับรู้เสียงจากทิศทางต่างๆ จะช่วยตรวจสอบการแปรผลของสมองด้านการใช้ภาษา และประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อมในอนาคต
อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร อาจารย์ประจําภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และแพทย์เฉพาะทางด้าน โสตประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของการตรวจการได้ยินเป็นประจำ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการตรวจจับและจัดการกับปัญหาการได้ยินที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้นในอนาคต งานเสวนาในครั้งนี้มุ่งเน้นให้นำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเลือกจัดงานที่มีชุมชนผู้สูงวัยได้มาทดลองใช้แอปพลิเคชัน เพื่อตรวจการได้ยินและให้ความรู้เสริมสร้างความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีนี้
บรรยากาศภายในงานคึกคักไปด้วยผู้สนใจมาร่วมงานจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่แสดงความสนใจอย่างยิ่งในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตผ่านเทคโนโลยีการตรวจสุขภาพหูและการได้ยิน นอกจากนี้ ยังมีโมเดลตัวอย่างเครื่องช่วยฟังหลากหลายรูปแบบที่นำมาจัดแสดง เครื่องช่วยฟังมีขนาดเล็กและออกแบบมาให้ทันสมัย ใช้งานง่าย ทำให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถทดลองเครื่องช่วยฟังได้อย่างใกล้ชิด และรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับสภาพการได้ยินของตนเอง
ดร.ลัษมณ อรรถาพิช คณะอนุกรรมการแผนงาน Global partnership ผู้แทนผู้อำนวยการ บพข. ได้กล่าวถึงความจำเป็นของการพัฒนานวัตกรรมและการใช้งานผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม พร้อมทั้งกล่าวถึงการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ งานเสวนาในครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ภายในงานมีผู้สูงอายุเข้าร่วมงานเสวนาอย่างคึกคัก ในอนาคต บพข.พร้อมจะให้ทุนสำหรับต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่สามารถออกสู่ตลาดได้ และช่วยให้ประชาชนได้รับประโยชน์
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Eartest by Eartone” ใช้งานได้ฟรีทันที ทั้งในระบบ iOS และ Android ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบและดูแลสุขภาพการได้ยินอย่างมีประสิทธิภาพ
PMCU จับมือ ‘POP MART CHARITY MINI CONCERT’ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
จุฬาฯ จัดงานขอบคุณชาวจุฬาฯ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ “Great Hearts, Great Success”
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดงาน Mekong Environment Resilience Week ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula The Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย
นิสิต BBA จุฬาฯ กวาดรางวัลจากเวทีระดับโลก ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ชื่นชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฮาลาล
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้