รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) ร่วมมือกับบริษัท ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเครดิต การรวบรวมและการประมวลผลข้อมูลด้านคาร์บอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งร่วมกันจัดกิจกรรมกับเครือข่ายนักวิจัยในมหาวิทยาลัยและในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเร่งศักยภาพในการจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สำเร็จ
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ณ ห้อง 705/2 ชั้น 7 อาคารวิจัยจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการ PETROMAT ลงนามร่วมกับนายอธิพร ลิ่มเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ด้วยความมุ่งหมายที่จะยกระดับการจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมสร้างอนาคตประเทศไทยให้สอดคล้องกับนานาชาติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อโลกที่ยั่งยืน
ที่มาของความร่วมมือครั้งนี้เนื่องจากวิกฤตสภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบให้หลายประเทศกำลังเผชิญกับอากาศร้อนจัด และเสี่ยงมากขึ้นต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงเกิดความตกลงร่วมกันในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาระส่วนหนึ่งเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในรัฐภาคีดังกล่าว และได้กำหนดว่าจะเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ. 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 นอกจากนี้ทั่วโลกยังมีมาตรการระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงส่งผลให้หลายภาคส่วนของประเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมและเริ่มดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันบ้างแล้วในปัจจุบัน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) เป็นเครือข่ายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในด้านปิโตรเคมีและวัสดุศาสตร์ มีนักวิจัยในมหาวิทยาลัย ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม และผลงานวิจัยจำนวนมากในด้านที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานสะอาด เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน ตลอดจนด้านวัสดุยั่งยืนเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน และยังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ในขณะที่บริษัท ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจชั้นนำในกลุ่มอุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม รวมถึงมีบริการส่งเสริมให้ลูกค้าเปลี่ยนผ่านระบบการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัล ทั้งสองฝ่ายเห็นความสำคัญต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยพร้อมสนับสนุนนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญและงบประมาณในการศึกษาวิจัยและพัฒนา
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปในพิธีต้อนรับเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” เยือนประเทศไทย ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้