เชิญร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรระยะสั้น CUVIP “การพัฒนาผู้สูงอายุที่มุ่งสู่ภาวการณ์สูงวัยอย่างมีพลัง”

จุฬาฯ จับมือกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดคอร์สออนไลน์ระยะสั้น หลักสูตร U3As มหาวิทยาลัยวัยที่สาม เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุรอบด้าน ทั้งด้านสุขภาพ ความมั่นคง สังคมและสภาวะแวดล้อม และการมีส่วนร่วม ตอบสนองความต้องการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงวัย
ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยวัยที่สามประเทศไทย (U3A Thailand) และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรระยะสั้น CUVIP หลักสูตร “การพัฒนาผู้สูงอายุที่มุ่งสู่ภาวการณ์สูงวัยอย่างมีพลัง” เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้มหาวิทยาลัยเป็นฐานผ่านเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยจัดการอบรมในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ
พบกับหลักสูตรอบรมตามกรอบสาระความรู้ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย
– วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. “กิมจิ” เคล็ดลับสุขภาพดีที่ไม่ควรมองข้าม โดย อ.มารีน่า จงเลิศเจษฎาวงศ์ (เชฟนานา) และ ผศ.ดร.ระวี จูฑศฤงค์
– วันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. “กฎหมายมรดก ฉบับสามัญประจำบ้าน” โดย คุณอุกฤษณ์ มากมี ผศ.ดร.ระวี จูฑศฤงค์ และ ผศ.ดร.มนัสวาสน์ โกวิทยา
– วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. “จัดการเงินอย่างไร ให้เกษียณสุข” (50+ Ready for Happy Retirement) โดย อ.ดร.กชวร จุ๋ยมณี และ ผศ.ดร.ระวี จูฑศฤงค์
– วันอังคารที่ 13 สิงหาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. “ครีเอเตอร์วัยเก๋าสร้างสื่อง่าย ๆ ด้วยโทรศัพท์เครื่องเดียว” โดย ผศ.ดร.กุลชัย กุลตวนิช น.ส.วิศัลยา พงศ์เพชรบัณฑิต และ รศ.ดร.วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
– วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. “สื่อสารอย่างเข้าใจ เพิ่มพลังใจให้ครอบครัว” โดย นายปองพล ชุษณะโชติ และ รศ.ดร.วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและลงทะเบียนร่วมกิจกรรมได้ที่ https://www.facebook.com/cuvip.friend หรือสแกน QR Code ที่ด้านล่างโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2218-3920 หรือที่ www.cuvip.gened.chula.ac.th Facebook : CUVIP project


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย