จุฬาฯ ก้าวสู่มหาวิทยาลัย LEED แห่งแรกในไทย ต้นแบบกายภาพมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสำนักบริหารระบบกายภาพ ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) เตรียมแผนพัฒนามหาวิทยาลัยยั่งยืน เพื่อนำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสู่มหาวิทยาลัยต้นแบบของประเทศไทยที่บูรณาการการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาผังแม่บทและการออกแบบอาคารตามเกณฑ์ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในวงการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยไทย

LEED เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการประเมินและรับรองอาคารที่มีการออกแบบและก่อสร้างอย่างยั่งยืน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานและน้ำ การลดของเสียและมลพิษ การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการออกแบบที่ช่วยประหยัดพลังงาน การออกแบบตามเกณฑ์ LEED ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาคมจุฬาฯ และเป็นก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ในโอกาสนี้ คณาจารย์จุฬาฯ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้นำเสนอโครงการศึกษาและทบทวนผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สู่มหาวิทยาลัยต้นแบบ LEED Certification เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุม 211 อาคารจามจุรี 4



จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย