รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 พฤษภาคม 2562
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมของสมาคมสภาดนตรีโลก “The 45th International Council for Traditional Music World Conference” ระหว่างวันที่ 11 -17 กรกฎาคม 2562 ณ หอประชุมจุฬาฯ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ และอาคารศิลปวัฒนธรรมจุฬาฯ นับเป็น ครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้จัดการประชุมดนตรีระดับโลกดังกล่าว
ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า สมาคมสภาดนตรีโลก ครั้งที่ 45 เป็นสมาคมวิชาชีพดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งมาไม่น้อยกว่า 70 ปี มีสมาชิก 129 ประเทศ กว่า 5,000 คนทั่วโลก การประชุมของสมาคมสภาดนตรีโลก ครั้งที่ 45 มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่เกี่ยวกับงานวิจัยและวิชาการทางด้านดนตรี เกิดความตื่นตัวในการเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีชาติพันธุ์วิทยา รูปแบบการประชุมประกอบด้วยการนำเสนอผลงานวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการที่น่าสนใจ และการแสดงทางด้านวัฒนธรรมดนตรีจากประเทศต่างๆ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการประชุมวิชาการสภาดนตรีโลก ครั้งที่ 45 เพื่อทรงร่วมฟังการแสดงปาฐกถาพิเศษ ในวันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2562 ณ หอประชุมจุฬาฯ จากนั้นจะมีการแสดงโขนจากกระทรวงวัฒนธรรม การบรรยายโดย Keynote Speaker เรื่องหมอลำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความผูกพันระหว่างชาวไทยและลาว คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้กว่า 1,000 คน
ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2218-4566, 089-4443352 หรือลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ http://www.ictm2019thailand.com/
จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “เสว่ยหลง 2 และอนาคต” เสริมความร่วมมือไทย–จีน ด้านการวิจัยขั้วโลกและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จุฬาฯ ต้อนรับผู้บริหาร Durham University สหราชอาณาจักร หารือความร่วมมือทางวิชาการ
แถลงข่าวเปิดตัวโครงการอบรมเฉพาะทางระยะสั้น “World Class Destination Development”
จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
สังคมไทย ‘ตายมากกว่าเกิด’: สิ่งนี้เป็นโอกาสหรือวิกฤตต่อความยั่งยืน
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ มุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Impactful Growth ในพื้นที่ จ.สระบุรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้